ผลการวิจัยพบ “กลูต้าไธโอน” มีส่วนช่วยจัดการกับโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (NAFLD)

0
327
image_pdfimage_printPrint

โตเกียว–(บิสิเนส ไวร์)–9 พ.ค. 2016

การศึกษาวิจัยทางคลินิกล่าสุดซึ่งดำเนินการร่วมกันหลายสถาบัน ได้มีการค้นพบเป็นครั้งแรกว่า การรับประทานยา KOHJIN Glutathione (L-Glutathione Reduced, GSH) มีประสิทธิภาพในการจัดการกับการตั้งต้นและการลุกลามของโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (NAFLD) รวมถึงกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) การค้นพบครั้งนี้ ซึ่งได้รับการนำเสนอที่การประชุม International Liver Congress 2016 ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ถือเป็นความก้าวหน้าที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่พบวิธีการรักษาด้วยยาในรูปแบบใดที่สามารถรักษาโรค NAFLD อย่างได้ผล (ILC 2016 #FRI-340)

โรค NAFLD ซึ่งสามารถลุกลามจนกลายเป็นได้ทั้งโรคตับอักเสบโดยมิได้มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ (NASH) โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับชนิด Hepatocellular Carcinoma (HCC) นับว่าเป็นภัยคุกคามที่นับวันยิ่งร้ายแรงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอัตราเป็นโรคสูงถึง 30% การวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาผู้ป่วยทั้งสิ้น 34 ราย ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับกลูต้าไธโอนปริมาณ 300 มก./วัน เป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยมีเกณฑ์สรุปผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบทั้งปัจจัยทางคลินิกและภาพแสดงระดับสะสมไขมัน (การเสื่อมของไขมัน) ด้วยเทคนิคทรานเซียนท์อิลาสโตกราฟี (Transient Elastography) ก่อนและหลังที่ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการรักษาด้วยกลูต้าไธโอน ทั้งนี้ พัฒนาการในทางกายภาพตามเกณฑ์ทั้งสองส่วนนั้นปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนระดับเอนไซม์ Alanine Aminotransferase (ALT) และ Controlled Attenuation Parameter (CAP/Fibroscan) ก็ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

กลูต้าไธโอนเป็นไตรเปปไทด์ชนิดหนึ่งที่พบในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำหน้าที่หลักในการเป็นสื่อกลางสำหรับกิจกรรมของเซลล์ และยับยั้งการเสื่อมของเซลล์ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายต้องต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสและเชื้อโรค เช่นเดียวกับอาการเจ็บป่วยทั่วร่างกาย เมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียดและการหมดแรงเนื่องด้วยกิจวัตรประจำวันและการโหมทำกิจกรรมทางกาย เมื่อร่างกายมีการขับของเสียหลังเผชิญกับมลพิษ สารพิษ และปัจจัยภายนอกอื่นๆ และโดยเฉพาะเมื่อร่างกายเสื่อมสภาพตามวัย ซึ่งส่งผลให้ปริมาณกลูต้าไธโอนในเลือดปรับตัวลดลง กลูต้าไธโอนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมการทำงานของตับ และกำจัดอนุมูลอิสระออกจากระบบ โดยเมื่อปี 2014 ทางคณะวิจัยได้ขจัดข้อสงสัยที่ยังคงเหลืออยู่ เกี่ยวกับผลลัพธ์จากการรับประทานกลูต้าไธโอนต่อปริมาณของสารดังกล่าวในร่างกาย พร้อมตรวจวัดว่าการเพิ่มปริมาณกลูต้าไธโอนนี้จะให้ผลลัพธ์เดียวกันกับที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือไม่

การวิจัยดังกล่าวได้ใช้กลูต้าไธโอนในรูปแบบ Reduced Form ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐาน U.S. FDA FULL GRAS, KOSHER และ HALAL และผลิตขึ้นโดยเฉพาะที่โรงงานผลิตมาตรฐาน GMP (USP correspondent, NON-GMO) ของ KOHJIN Life Sciences ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกระดับแนวหน้าที่ศึกษาคุณประโยชน์ของกลูต้าไธโอนมาเป็นเวลาเกือบ 50 ปี และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคต

รับชมข่าวต้นฉบับได้ที่ businesswire.com: http://www.businesswire.com/news/home/20160505005229/en

ติดต่อ:
สำหรับ KOHJIN Life Sciences
เอเชีย
Yusuke Sauchi
อีเมล: yusuke.sauchi@kohjinls.com
หรือ
สหรัฐ และแคนาดา
Robert Price
อีเมล: rprice@mitsubishiingredients.com