The Siam Wellness 35 แบรนด์สมุนไพร OTOP

0
470
image_pdfimage_printPrint

ในศตวรรษที่ 21 นี้ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าส่งผลให้สภาวะของสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปในทุกมิติ ทั้งวิถีชีวิต การคมนาคม การสื่อสาร รวมไปถึงการศึกษาล้วนต้องเผชิญกับการปฏิรูปที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งมาตลอดระยะเวลา 33 ปี มีกลยุทธ์อย่างไรจึงยืนหยัดได้อย่างเข้มแข็ง และได้รับการรับรองจากองค์กรระดับโลก
Learner Centric นักศึกษาคือศูนย์กลาง
“นักศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนค่อนข้างมาก มีความเป็นผู้ใหญ่ที่มุ่งมั่นจะเพิ่มทักษะและความชำนาญ เพื่อความได้เปรียบในการทำงาน อาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทจาก ‘ผู้สอน’ เป็น ‘ผู้นำกระบวนการ (Facilitator)’ หรือต้นแบบ ด้านหลักสูตรก็ต้องมีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคน” รศ.พญ.จุฬธิดา โฉมฉาย คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว
มหาวิทยาลัยต้องให้มากกว่าความรู้
“หลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติเน้นการสร้างประสบการณ์การศึกษาที่นักศึกษาจะได้รับความรู้ ควบคู่ไปกับทักษะในการดำรงชีวิตและการทำงาน พร้อมที่จะจบไปเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าของสังคม” รศ.พญ.จุฬธิดา กล่าวเสริมว่า “นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนทั้งพื้นฐานของศิลปะและวิทยาศาสตร์ อันเป็นรากฐานของการพัฒนาตนเองและกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ซึ่งจะทำให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี”
คุณภาพหลักสูตรต้องเทียบเท่าระดับสากล
การผลิตบัณฑิตให้มีทักษะที่หลากหลาย และตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดแรงงานในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการเรียนการสอน รวมถึงหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน และเป็นยอมรับในตลาดแรงงานยุคใหม่ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพหลักสูตร จนเป็นที่ยอมรับจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีทั่วโลก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ซึ่งการรับรองมาตรฐานโดย AACSB นี้จะเป็นการยืนยันว่า ผู้ที่จบมาจากสถาบันเหล่านี้ จะได้รับโอกาสการจ้างงานที่สูงกว่า

“ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจทั่วโลกไม่ถึง 5% ที่ได้รับการรับรอง AACSB นี้” ดร.กันดาภา ตาณะสุต ประธานกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล กล่าว “การได้รับการรับรองมาตรฐานจาก AACSB นั้น แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของหลักสูตรที่ก้าวทันมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้มั่นใจได้ว่านักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรนี้จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพเมื่อสำเร็จการศึกษา”
มาตรฐานโลกคือใบเบิกทางของบัณฑิต
ดร.กันดาภา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “การรับรองมาตรฐานโดย AACSB จะมีการตรวจสอบทุก ๆ 5 ปี ดังนั้น หลักสูตรจึงต้องมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง นักศึกษาและผู้ปกครองจึงมั่นใจได้ว่า ผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองโดย AACSB จะสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริงได้ และเมื่อต้องการเรียนต่อปริญญาโทหรือเอกในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกัน ก็ทำให้การติดต่อ หรือสมัครเรียนทำได้ง่าย และสะดวกขึ้น”
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีผ่านหลักสูตรนานาชาติ 6 หลักสูตร และปริญญาโท 2 หลักสูตร โดยผลการสำรวจพบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่ได้รับการจ้างงาน และมักได้รับตำแหน่งสำคัญในองค์กรชั้นนำทั้งระดับประเทศและนานาชาติชั้นนำของโลก อาทิ วงการธุรกิจ การสื่อสาร อุตสาหกรรมบันเทิง สายศิลปะ เทคโนโลยี การท่องเที่ยวและการบริการ การศึกษา การแพทย์ การวิจัย วิทยาศาสตร์ รวมทั้งในองค์กรของรัฐและองค์กรเอกชนต่าง ๆ
โอกาสพิเศษสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครองที่สนใจ สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้มาตรฐานระดับโลกได้ในงานเปิดบ้าน MUIC OPEN DAYS: The Matter of Being Different วันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ เวลา 8.30-16.00 น. ณ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ LINE @muicopenday
###

สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่
คุณไอยย์รัศ สิทธิพูล (โน้ต) โทร 062 185 9681 อีเมล์ aiyaras@notablebkk.com