Roland Berger เผยผลวิจัยล่าสุด คาดธนาคารไทย ทำกำไรลดลงท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้า

0
521
image_pdfimage_printPrint

– ภาคการธนาคารไทยเสี่ยงกำไรน้อยลง อันเป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาดที่กำลังอิ่มตัว และผลตอบแทนที่ไม่ชัดเจนจากการลงทุนดิจิทัล แบงค์กิ้ง
งานวิจัยล่าสุดจากบริษัท Roland Berger บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และบริหารจัดการ ชี้ว่า ธนาคารในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาโครงสร้างตลาดที่กำลังอิ่มตัว เนื่องจากการแข่งขันด้านสินค้าและบริการที่สูงขึ้น รายได้จากค่าธรรมเนียมที่ลดลง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยใน 5 ปีข้างหน้านี้ Roland Berger คาดว่าตลาดการธนาคารของไทยจะเผชิญปัญหาหลายประการ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อขีดความสามารถในการทำกำไร
ดร. อุดมเกียรติ บุญวรเศรษฐ์ หุ้นส่วนบริษัท Roland Berger และผู้เขียนร่วม เปิดเผยว่า
” ในอนาคตอันใกล้ ธนาคารไทยมีความเสี่ยงจากรายได้และผลกำไรที่ลดลงอันเนื่องมาจากการปรับรูปแบบการดำเนินงานและโครงสร้างต้นทุนที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมกับสถานการณ์ มากกว่าความเสี่ยงจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับคู่แข่งขันรายใหม่ๆที่เป็น Digital disruptor โดยคาดว่าอัตรากำไรที่ลดลงนี้จะส่งผลให้ผู้บริหารระดับสูงในภาคธนาคารพิจารณาปรับโครงสร้างต้นทุนในระดับที่เข้มข้นขึ้น”
รายงานของ Roland Berger ในหัวข้อ “ธนาคารไทยจะพยุงอัตรากำไรได้อย่างไรในระหว่างที่รอผลตอบแทนจากการลงทุนด้านดิจิทัล” ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์ในไทยจะเผชิญแรงกดดันให้คงค่าเฉลี่ยผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity หรือ ROE) อยู่ที่ประมาณ 8% เหมือนช่วงหลายปีก่อน โดยคาดการณ์ว่าอัตรากำไรของทั้งภาคธนาคารไทยมีความเสี่ยงที่จะลดลงไปถึง 6.6% ในอีก 3 ปีข้างหน้า
ดร. อุดมเกียรติ แนะนำให้ธนาคารไทยพิจารณาดำเนินโครงการริเริ่มเพื่อลดต้นทุนในระยะสั้น เพื่อประคับประคอง ในช่วง 3 ถึง 5 ปีนี้ และขณะเดียวกันก็ประเมินโครงการลงทุนด้านดิจิทัลทั้งหมดอีกครั้ง
งานวิจัยดังกล่าวยังคาดการณ์ว่า ภาคธนาคารไทยต้องมีการลดต้นทุนให้ได้ราว 1 แสนล้านบาท (ประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ถึง 1.8 แสนล้านบาท (ประมาณ 5.7-6.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อรับมือกับผลตอบแทน ROE ที่ลดลง
ถอดรหัสการชะลอตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมา
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโดยรวมมีการฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินในเอเชียเมื่อปี 2540 และได้เข้าสู่ช่วงการบูรณะเศรษฐกิจโดยมีอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ธนาคารพาณิชย์รวมต่อปีสูงถึง 8.0% จนถึงปี 2556 หลังจากนั้น การเติบโตของภาคธนาคารได้ชะลอตัวลง โดยมีการเติบโตต่อปีเฉลี่ยเพียง 3.7% ระหว่างปี 2556 ถึงปี 2562 ในช่วงดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งได้ดำเนินโครงการ Transformation ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคงไว้ซึ่งการเติบโตที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการดำเนินโครงการ Digital Transformation ในภาคธนาคารอย่างกว้างขวาง
ตั้งแต่โครงการนำร่องหุ่นยนต์ที่ปรึกษาทางการเงิน แชทบ็อทบริการลูกค้า การพลิกโฉมประสบการณ์ Mobile Banking การใช้คลาวด์ไอที ไปจนถึงการประเมินสินเชื่อออนไลน์ โครงการดิจิทัลแบงค์กิ้งเหล่านี้ถือเป็นการลงทุนที่สูงสำหรับธนาคาร และใช้เวลาหลายปีกว่าจะเห็นผลตอบแทนทางการเงินอย่างเป็นรูปธรรม
นาย Philippe Chassat หุ้นส่วนอาวุโสบริษัท Roland Berger ผู้เขียนร่วม ยังระบุอีกว่า “ในช่วงเวลานี้ ธนาคารไทยจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างต้นทุนในระยะสั้น และควรประเมินการลงทุนด้านดิจิทัลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแต่ไม่ควรหยุดดำเนินการลง ขณะนี้ธนาคารยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เรียกว่า “Valley of No Return” จนกว่าการลงทุนด้านดิจิทัลจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมา ซึ่งอาจยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้”
รัดเข็มขัดเพื่อบรรเทาการถดถอยของอัตรากำไรภาคธนาคารไทย
เพื่อบรรเทาภาวะกำไรถดถอยของภาคธนาคารไทย บริษัทที่ปรึกษา Roland Berger ประเมินว่า ธนาคารไทยมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนให้ได้ราว 1 แสนล้านบาท (ประมาณ 3,300 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2567 และประเมินว่า ธนาคารต้องลดต้นทุนให้ได้ 1.7-1.8 แสนล้านบาท (ประมาณ 5.7-6.0 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตในกรณีที่แย่ที่สุด (worst-case scenario)
งานวิจัยของ Roland Berger ยังแนะนำถึง 3 แนวทางที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลในการช่วยปรับโครงสร้างต้นทุนของธนาคาร ซึ่งประกอบด้วย การลดต้นทุนด้วยเทคนิค Accelerated Zero-based Budgeting การปรับปรุงการจัดซื้อให้เป็นเลิศหรือ Procurement Excellence และการลดต้นทุนด้านไอที หรือ IT Frugality
นาย Chassat ยังระบุอีกว่า ธนาคารไทยจำเป็นต้องดำเนินการหลายอย่างในการเปลี่ยนผ่านและปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงเชิงโครงสร้างของตลาด พร้อมแนะนำว่า ธนาคารควรดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเมื่อสภาพเศรษฐกิจกลับฟื้นขึ้นและเติบโตในทางบวกต่อไปในระยะกลางถึงระยะยาวของภาคธนาคารไทย
ดาวน์โหลดงานวิจัยได้ที่: https://www.rolandberger.com/en/Publications/Thailand-Banking-Market-How-to-bridge-the-profitability-gap.html
Roland Berger ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 เป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกแห่งเดียวที่มาจากประเทศเยอรมนีและมีจุดกำเนิดในทวีปยุโรป ด้วยพนักงาน 2,400 คนใน 34 ประเทศทั่วโลก สำนักงาน 52 แห่งของเราล้วนตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจสำคัญของโลก และประสบความสำเร็จในการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงบริษัทชั้นนำของโลก

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200318/2734925-1-b
คำบรรยายภาพ: Roland Berger เผยผลวิจัยใหม่ คาดธนาคารไทยจะมีความสามารถในการกำไรน้อยลงท่ามกลางอุปสรรคทางเศรษฐกิจ

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200302/2734925-1LOGO
คำบรรยายภาพ: โลโก้บริษัท Roland Berger