I-MAK ยื่นเรื่องคัดค้านการขอจดสิทธิบัตรยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีตัวใหม่

0
233
image_pdfimage_printPrint

นิวยอร์ก–25 พ.ย.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

 

— การคัดค้านครั้งนี้อาจช่วยเร่งการผลิตยาที่มีราคาถูกลง และช่วยให้ผู้ป่วยหลายล้านคนเข้าถึงยารักษาที่ราคาไม่แพง

 

มูลนิธิ Open Society Foundations แสดงความยินดีกับ Initiative for Medicines, Access & Knowledge (I-MAK) ในการยื่นเรื่องคัดค้านการขอจดสิทธิบัตร sofosbuvir ผลิตภัณฑ์ยาตัวใหม่ของบริษัท จีลีด ไซน์ส (Gilead Science) ในอินเดีย

 

การยื่นเรื่องคัดค้านที่สำนักงานสิทธิบัตรกัลกัตตาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้บริษัทจีลีดเป็นผู้ผูกขาดการผลิต และกำหนดราคายา sofosbuvir แต่เพียงผู้เดียว และส่งผลให้ผู้ผลิตยารายอื่นๆในอินเดียสามารถผลิตยาดังกล่าวในราคาที่ถูกลง ซึ่งถือเป็นขั้นแรกในการเปิดโอกาสให้ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และรายได้ต่ำ สามารถซื้อยาดังกล่าวได้

 

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีด้วยยา sofosbuvir นั้นใช้เวลาน้อยกว่าการรักษาแบบอื่นๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน และมีอัตราค่ารักษาสูงกว่า เนื่องจากเป็นยารับประทาน และก่อให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่า แต่ข้อดีเหล่านี้ก็ไม่ใช่เหตุผลสำหรับการขอจดสิทธิบัตร เพราะกฎหมายอินเดียระบุว่า ผลิตภัณฑ์ใดๆที่ดัดแปลงมาจากสารปะกอบทางเคมีที่มีอยู่แล้ว จะไม่สามารถรับสิทธิบัตรได้

 

“sofosbuvir ไม่ถือเป็นยาที่พัฒนาขึ้นใหม่ในระดับโมเลกุลที่จะสามารถขอจดสิทธิบัตรได้” Els Torreele ผู้อำนวยการฝ่าย Access to Essential Medicines Initiative ของมูลนิธิ Open Society Foundations กล่าว “นี่คือการต่อสู้ในประเด็นที่ว่า ผลประโยชน์หรือชีวิตของผู้ป่วยจะเป็นปัจจัยที่จะผลักดันให้เกิดการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีกันแน่”

 

ทั้งนี้ คาดว่า ยา sofosbuvir จะได้รับการรับรองในสหรัฐอเมริกา และยุโรปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และอาจจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อการรักษา 1 คอร์ส ทั้งนี้ 90% ของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และรายได้ต่ำ ดังนั้น ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะไม่สามารถเข้าถึงการรักษาในราคาดังกล่าวได้เลย

 

“หากปราศจากการแข่งขันของบริษัทยาทั่วไปในอินเดียแล้ว บริษัทผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรหลายแห่งมักจะใช้เวลานานเกินไปกว่าจะยอมปรับลดราคายาลงมา” Tahir Amin ผู้อำนวยการ I-MAK กล่าว “ยาตัวนี้ดัดแปลงมาจากสารประกอบที่มีอยู่แล้ว และกฎหมายของอินเดียจึงไม่อนุญาตให้บริษัทแสวงหากำไรจำนวนมหาศาลจากยาประเภทนี้ได้”

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งสมญานามโรคนี้ว่า “ระเบิดเวลาไวรัส” ซึ่งประชากรโลกราว 170 ล้านคนกำลังทนทุกข์กับโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง โดยผู้ป่วย 12 ล้านคนอยู่ในอินเดีย ขณะที่มีผู้ติดโรคนี้เกือบ 4 ล้านคนในแต่ละปี และเสียชีวิต 350,000 คนทุกๆปี

 

มูลนิธิ Open Society Foundations เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ป่วย และนักกฎหมายด้านการรักษาโรค เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีในประเทศที่มีรายได้ปานกลางหลายประเทศได้แก่ จอร์เจีย ยูเคน เวียดนาม บราซิล รัสเซีย และประเทศไทย ซึ่งผู้ป่วยไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้

 

Open Society Foundations มุ่งมั่นในการสร้างความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง และเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาลได้ มูลนิธิทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นมากกว่า 100 ประเทศ และสนับสนุนความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน เสรีภาพในการแสดงออก และการเข้าถึงการศึกษา และการรักษาของรัฐ

 

I-MAK คือ กลุ่มทนายความ และนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาราคาย่อมเยา ด้วยการสร้างความมั่นใจว่า ระบบสิทธิบัตรจะมีประสิทธิผล ความพร้อมที่ยอดเยี่ยมซึ่งเป็นอาวุธชิ้นสำคัญช่วยให้ I-MAK มีบทบาทในการเป็นกระบอกเสียงเพื่อเรียกร้องด้านสิทธิบัตรที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และชีวิตของประชาชน นอกจากนี้ I-MAK ยังได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากมูลนิธิ Open Society Foundations