รพ.พญาไท 2 International เผยนวัตกรรมการรักษาเซลล์สมองด้วยการลดอุณหภูมิ ฟื้นชีวิตวิศวกร AIS ที่หยุดหายใจ 47 นาที สู่ภาวะปกติไม่เป็นเจ้าชายนิทรา

0
279
image_pdfimage_printPrint

นายแพทย์สมบัติ  มุ่งทวีพงษา  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาวะวิกฤติทางสมองโรงพยาบาลพญาไท 2 อินเตอร์เนชั่นแนล  ในฐานะแพทย์เจ้าของไข้ของ คุณฉัตรชัย  เกษมเนตร ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นไป 47 นาที และกลับมาสู่ภาวะปกติได้ด้วยการปฐมพยาบาลอย่างต่อเนื่องและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของโรงพยาบาลพญาไท 2  ซึ่งคุณหมอสมบัติได้เผยข้อมูลว่า  หากวันนึงเกิดสิ่งไม่คาดฝันกันร่างกายของคุณหรือคนใกล้ชิดแบบเฉียบพลัน  การมีสติจะสามารถช่วยบรรเทาวิกฤติได้ อย่างเช่นกรณีตัวอย่างของการที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤติด้วยการหัวใจหยุดเต้นของคุณฉัตรชัย เกษมเนตร วิศวกรสังกัดบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) ที่มีอาการวูบล้มต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน ซึ่งทุกคนคิดว่าเป็นลม แต่สักพักใบหน้าเริ่มกลายเป็นสีม่วงคล้ำ กัดลิ้นตัวเอง และหัวใจหยุดเต้น  ในนาทีนั้นได้มีเพื่อนร่วมงานเข้ามาช่วยปฐมพยาบาลโดยผายปอดและปั๊มหัวใจ เวลาผ่านไปนานกว่า 10 นาที  ชีพจรเต้นอ่อนและเบาบางจนสัมผัสได้ยาก แต่เพื่อนผู้ช่วยปฐมพยาบาลก็ยังปั๊มหัวใจและผายปอดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทีมแพทย์ของโรงพยาบาลพญาไท 2              ซึ่งประกอบด้วยแพทย์และทีมตอบสนองฉุกเฉินมาถึงยังที่เกิดเหตุ จากนั้นแพทย์ได้ใช้เครื่องมือในการปั๊มหัวใจอยู่นานกว่า 47 นาที แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นเมื่อชีพจรและความดันกลับมาเต้นแรงเหมือนปกติอีกครั้ง แพทย์ดูอาการอีกประมาณ 2 นาที จึงเคลื่อนย้ายคนไข้กลับมาที่โรงพยาบาล และให้การรักษาอย่างเร่งด่วน ….  แน่นอนว่าเมื่อครอบครัวของคุณฉัตรชัยได้ทราบข่าวการหยุดหายใจกระทันหันไปนานถึง 47 นาที ก็เริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการหลังจากที่ร่างกายกลับมาทำงาน เนื่องจากขาดอ๊อกซิเจนไปนานมากจึงมีความเสี่ยงสูงที่คนไข้จะตกอยู่ในสภาวะเจ้าชายนิทรา  ประเด็นสำคัญนี้ทีมแพทย์ได้ตระหนักและให้การดูแลรักษาด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อรักษาไม่ให้สมองตาย ด้วยวิธีการลดอุณหภูมิหรือทางแพทย์เรียกว่า Hypothermia   ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยให้พ้นจากสภาวะการเป็นเจ้าชายนิทรา

การลดอุณหภูมิของร่างกาย (Hypothermia)  เป็นแนวทางการรักษาเพื่อกอบกู้สมองหลังเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับเซลล์สมอง เนื่องจากถ้าเมื่อใดก็ตามที่สมองของคนเราขาดเลือดไปเลี้ยง จะส่งผลให้เซลล์สมองตายได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นเมื่อคนเราเกิดมีภาวะหัวใจหยุดเต้นขึ้นมาและต้องปั้มหัวใจช่วยชีวิต นั่นก็หมายความว่า ในระหว่างนั้นสมองก็จะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ปัจจุบันเราจึงมีวิธีรักษาด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำกว่าปกติ เพื่อช่วยให้สมองที่ได้รับอันตรายกลับคืนมา ซึ่งถือว่าสำคัญมากสำหรับชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมากเลยทีเดียว

 

สำหรับการรักษาด้วยวิธีการลดอุณหภูมิของร่างกาย (Therapeutic Hypothermia) นอกเหนือจากรักษาในกรณีของผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นแล้ว ยังอาจสามารถใช้รักษากับผู้ที่ปัญหาของโรคทางสมองอื่นๆได้บ้างแต่ยังไม่เป็นการรักษามาตรฐาน ซึ่งการพิจารณารักษาด้วยการลดอุณหภูมิเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ เพื่อความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยกระบวนการรักษานี้จะเริ่มทันทีภายหลังจากสามารถช่วยให้หัวใจกลับมาเป็นปกติและการไหลเวียนเลือดกลับคืนมาแล้ว แพทย์จะเริ่มขั้นตอนลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำกว่าปกติอยู่ที่อุณหภูมิแกนกลางประมาณ 33  องศาเซลเซียส และควบคุมให้คงที่ตลอดเวลาประมาณ 24  ชั่วโมง โดยก่อนการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะต้องประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดผลแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น โอกาสการติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด เป็นต้น รวมทั้งเตรียมป้องกันอาการร่วมบางอย่าง เช่น อาการหนาวสั่น เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลตอบสนองที่ดีต่อการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิ และหลังจากควบคุมอุณหภูมิได้ตามระยะเวลาที่กำหนด จะดำเนินการปรับสภาพร่างกายของคนไข้ให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ โดยตลอดขั้นตอนการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 3  วัน ซึ่งในช่วงที่ทำการรักษา

ด้าน  นายแพทย์ อนันตศักดิ์  อภัยรัตน์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 International   กล่าวว่า  คนเราไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการมีสุขที่ดีและแข็งแรง  เมื่อพื้นฐานของร่างกายเราดี ก็จะต่อยอดไปถึงเรื่องของการงานที่ดี  ครอบครัวที่ดี  และสร้างสังคมให้ดีต่อไปได้  และกรณีตัวอย่างของคุณฉัตรชัยในครั้งนี้      ขอชื่นชมองค์กรต้นสังกัดที่คุณฉัตรชัยทำงานอยู่ นั่นก็คือ AIS  ที่ให้ความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพพนักงานภายในองค์กร  และเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติขึ้นจริง  บุคลากรในองค์กรสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมมาใช้ในการช่วยชีวิต ซึ่งเพื่อนร่วมงานได้  และได้ทราบในภายหลังมาว่า  AIS  ได้มีสวัสดิการในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล  และยังมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพอีกหลายๆ กิจกรรม  สิ่งเหล่านี้สำคัญไม่แพ้เรื่องผลกำไรจากธุรกิจเพราะการที่องค์กรมีแนวคิดที่จะเสริมสร้างสุขภาพของพนักงงานให้ดีแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานอันจะนำไปสู่การมีพลังกาย พลังสมอง ที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ดีได้  นับว่าเป็นองค์กรที่น่าเอาเป็นแบบอย่างในเรื่องของการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพและชีวิตของบุคลากรด้วยการให้ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ  จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง เพราะนาทีชีวิต คือนาทีที่สำคัญกว่านาทีไหนๆ อย่าหมดหวังแม้เกือบหมดลม