พีทีที โกลบอล เคมิคอล จับมือซาบีน่า สานต่อโครงการ Sabina Sewing Cup Sewing Heart ชวนจิตอาสาชาวระยอง ร่วมเย็บเต้านมเทียมเพื่อส่งมอบความห่วงใยให้ผู้ป่วย “มะเร็งเต้านม”

0
349
image_pdfimage_printPrint

พีทีที โกลบอล เคมิคอล จับมือซาบีน่า สานต่อโครงการ Sabina Sewing Cup Sewing Heart

ชวนจิตอาสาชาวระยอง ร่วมเย็บเต้านมเทียมเพื่อส่งมอบความห่วงใยให้ผู้ป่วย “มะเร็งเต้านม”

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเคมีภัณฑ์ร่วมสร้างพลังใจ ต้านภัยร้าย “มะเร็งเต้านม” ภายใต้โครงการ Sabina Sewing Cup Sewing Heart เพื่อเชิญชวนชาวจิตอาสาร่วมส่งมอบความห่วงใยด้วยการเย็บเต้านมเทียม เพื่อนำไปบริจาคให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลน โดยเริ่มกิจกรรมพื้นที่แรก ณ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สำนักงานระยอง

นายอมรเทพ อสีปัญญา ผู้อำนวยการสายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของซาบีน่าที่ว่า ซาบีน่า เพราะเราคือเพื่อนที่เข้าใจผู้หญิง เราจึงให้ความสำคัญกับทุกความต้องการของผู้หญิง รวมถึงใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และโรคภัยที่เกี่ยวเนื่องกับสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “มะเร็ง     เต้านม” ที่ปัจจุบันโรคร้ายดังกล่าวได้คร่าชีวิตผู้หญิงไทยไปแล้วเป็นจำนวนมาก และด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการ Sabina Sewing Cup Sewing Heart กิจกรรมที่รณรงค์ให้ผู้หญิงตระหนักถึงโรคมะเร็งเต้านม ด้วยการป้องกันและการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจมะเร็ง   เต้านมเบื้องต้นอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง พร้อมเดินหน้าระดมกำลังจากผู้มีจิตอาสาด้วยกิจกรรมร่วมเย็บเต้านมเทียม เพื่อนำไปบริจาคให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลน โดยกิจกรรมดังกล่าวได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5”

 

“กิจกรรมเย็บเต้านมเทียมครั้งล่าสุดนี้ นับเป็นโอกาสดีที่ซาบีน่าได้มีโอกาสผนึกความร่วมมือกับบริษัท พีทีที           โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัทปิโตรเคมีรายใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนในความช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในด้านต่างๆ ทั้งวัสดุในการเย็บเต้านมเทียม และขยายวงกว้างความรู้ไปสู่ผู้ป่วยและบุคคลรอบข้างของผู้ป่วยในพื้นที่ชุมชนต่างๆ จึงได้จัดโครงการ เคมีภัณฑ์ ร่วมสร้างพลังใจ ต้านภัยร้าย “มะเร็งเต้านม” ขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัดระยอง โดยมีเหล่าประชาชนเหล่าจิตอาสาทั้งจากอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลเมืองมาบตาพุด เข้าร่วมกิจกรรมเย็บเต้านมเทียมเป็นจำนวนมาก เพื่อรวบรวมและนำไปมอบให้กับผู้ป่วยที่ผ่านการตัดเต้านมออกไป ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 2,000 เต้า” นายอมรเทพ กล่าว

ด้านนางอุษณีย์ ตันตินิติ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานกลยุทธ์กิจการเพื่อสังคม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และสร้างการตระหนักถึงโรคร้ายดังกล่าวแก่ชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนเม็ดพลาสติก LLDPE เพื่อใช้เป็นวัสดุสำคัญในการจัดทำ “เต้านมเทียม” อีกด้วย โดยเม็ดพลาสติก LLDPE มีคุณสมบัติที่เหมาะต่อการนำมาบรรจุในเต้านมเทียม เนื่องจากเป็นเม็ดพลาสติกที่มีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายใดๆ เป็นเกรดที่ได้รับการรับรองสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โพลีเอทิลีน มอก. 816/2538 มีลักษณะกลมมน           ไม่มีเหลี่ยมแหลมคม เนื้อพลาสติกมีความนิ่มไม่แข็งกระด้าง แตกต่างจากเม็ดพลาสติกชนิดอื่น นอกจากนี้ยังไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวสัมผัส หรือเจาะทะลุเนื้อผ้า ดังนั้นหากสัมผัสผิวร่างกายส่วนใดก็มั่นใจได้ว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ทั้งนี้เม็ดพลาสติกยังมีคุณสมบัติต้านทานต่อการดูดซับความชื้น และทนต่อสารเคมีที่ใช้ในการซักล้าง จึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน”

 

นายแพทย์ ชลี บัวขำ ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ กล่าวถึง    ภัยร้ายของมะเร็งเต้านมในการเสวนาหัวข้อ “สร้างพลังเรียนรู้ ต้านภัยมะเร็งเต้านม” ว่า โรคมะเร็งเต้านมถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิง ซึ่งพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุที่น้อยลง โดยปัจจุบันพบกลุ่มเสี่ยงแล้วในวัย 20  ปี และพบผู้ป่วยหญิงทั่วประเทศเฉลี่ย 0.02% โดยผู้ป่วยในจังหวัดระยองถือได้ว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดติด 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับทุกจังหวัด โดยพบมากในกลุ่มสตรีที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งเต้านมนั้นมีปัจจัยเสี่ยงมาจากหลายประการ ทั้งจากกรรมพันธุ์ 5-10% การรับประทานอาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงหรือมีไขมันมากๆ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือพักอาศัยในบริเวณที่มีสารรังสี รวมทั้งสตรีที่ยังไม่เคยผ่านการมีบุตรก็มีปัจจัยเสี่ยงด้วยเช่นกัน โดยแนะนำให้มีการหมั่นตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในช่วงเวลาหลังมีประจำเดือนแล้วประมาณ 5-10 วัน โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำหาความผิดปกติบริเวณเต้านมใน 3 ท่า ได้แก่ 1). ท่ายืน ในลักษณะปล่อยแขนธรรมดาและยกแขน 2).ท่าคลำในห้องน้ำในระหว่างฟอกสบู่ โดยสบู่จะช่วยเพิ่มความลื่นในการคลำมากขึ้น 3). ท่านอน โดยหากตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย หากพบเชื้อในระยะเบื้องต้น ผู้ป่วยก็สามารถรักษาให้หายขาดได้อย่างแน่นอน

นางสุวดี แก้วคำ ผู้ที่เคยประสบกับโรคมะเร็งเต้านมและตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเย็บเต้านมเทียม กล่าวว่า “ดิฉันเคยผ่านการเป็นมะเร็งเต้านม และเข้าใจดีว่าผู้ป่วยทุกคนต่างต้องการกำลังใจจากคนรอบข้าง เพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ตนเองลุกขึ้นสู้กับมะเร็งร้าย ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่มีกิจกรรมดีๆ แบบนี้ขึ้นที่จังหวัดระยอง เพราะนอกจากจะได้ช่วยให้สตรีกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคี รู้จักแบ่งปันกำลังใจให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันจากการร่วมกันเย็บเต้านมเทียม จึงอยากให้ทุกฝ่ายหันมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมดีๆ และร่วมสานต่อโครงการแบบนี้ต่อไปค่ะ”

สำหรับผู้ที่มีญาติหรือเพื่อนเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม สามารถติดต่อขอรับเต้านมเทียมได้ที่ซาบีน่า และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเย็บเต้านมเทียม สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sabina Call Center 0 2422 9430 หรือคลิกเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.sabina.co.th
1. ผ้าคอตตอนเนื้อนุ่ม ตัดเป็นวงกลม 2 ชิ้น ขนาด 13 นิ้ว และ 18.5 นิ้ววัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

2. เข็ม พร้อมด้าย และกรรไกร

3. ใยสังเคราะห์ เพื่อเพิ่มความหนาและให้ฟูเป็นรูปทรงของเต้านม

4. เม็ดพลาสติกจากพีทีที โกลบอล เคมิคอล เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เต้านมเทียม และไม่ทำให้ใยสังเคราะห์ติดกันเป็นก้อน

 

 

 
1. เตรียมผ้าคอตตอนเนื้อนุ่มๆ ตัดเป็นวงกลม 2 ชิ้น ขนาด 13 นิ้ว และ 18.5 นิ้ว นำมาห่อเต้านมเทียมเป็นรูปกรวย และผืนเล็กทำเป็นฐานด้านในขั้นตอน และวิธีการเย็บเต้านมเทียม

2. เย็บขอบผ้าโดยเว้นบริเวณขอบปากไว้ประมาณ 2 นิ้วเพื่อใส่ใยสังเคราะห์ และกลับผ้าด้านในออกมาเป็นด้านนอก

3. ดึงใยสังเคราะห์ที่เตรียมไว้ออกจากกัน เพื่อทำให้ใยฟูขึ้น

4. นำเม็ดพลาสติกใส่ตรงกลางใยสังเคราะห์แล้วห่อเม็ดให้แน่นเพื่อไม่ให้เม็ดพลาสติกหลุดออกมา จากนั้นนำไปใส่ในผ้าที่เตรียมไว้ เพื่อเพิ่มน้ำหนักและความสมดุลให้เต้านม

5. จากนั้นเย็บปิดปากกรวยเต้าให้ติดกัน พร้อมจัดแต่งเต้านมโดยใช้นิ้วบีบเพื่อให้ใยสังเคราะห์คลายตัว ทำซ้ำกันหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ใยสังเคราะห์ฟูเป็นรูปทรงเต้านมมากขึ้น

6. ใช้มือตบเต้านมเทียมเบาๆ เพื่อให้ตัวเม็ดพลาสติกกระจายตัวไปรอบเต้าและจะทำให้ตัวใยไม่จับเป็นก้อน

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.