ทีม ยูดี ทรัคส์ ประเทศไทย พร้อมเข้าร่วมแข่ง GEMBA Challenge

0
372
image_pdfimage_printPrint

lobster-team2s

ทีม ยูดี ทรัคส์ ประเทศไทย พร้อมเข้าร่วมแข่ง GEMBA Challenge
ทีมล็อบส์เตอร์ จาก ยูดี ทรัคส์ (ประเทศไทย) สาขาอยุธา เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน GEMBA Challenge รอบสุดท้ายที่ประเทศญี่ปุ่น โดยจะเริ่มการแข่งขันรอบสุดท้ายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้
นางลดาวรรณ ชาญพิทยานุกูลกิจ ผู้จัดการทั่วไป ยูดี ทรัคส์ (ประเทศไทย) ประจำภูมิภาคภาคกลางและภาคเหนือ เปิดเผยว่าการเข้าร่วม GEMBA Challenge ครั้งนี้เป็นการเข้าร่วมครั้งแรกของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกจัดขึ้นที่ในปี พ.ศ. 2557 มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 182 ทีมจากทั่วโลก และจะเหลือเพียง 9 ทีมเพื่อทำการคัดเลือกเหลือเพียง 3 ทีมเป็นผู้ชนะ ซึ่งในครั้งนั้น 3 ทีมผู้ชนะมาจากประเทศอัฟริกาใต้ และอีก 2 ทีมจากประเทศญี่ปุ่น
GEMBA Challenge คือการแข่งขันการให้บริการหลังการขาย ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานยูดี ทรัคส์ จากทั่วโลก รวมตัวเป็นทีม โดยมีสมาชิกในทีม 4 คนซึ่งประกอบด้วยพนักงานช่าง พนักงานออฟฟิศและพนักงานอะไหล่ และตั้งชื่อทีมในการเข้าร่วมการแข่งขัน
สำหรับประเทศไทย เริ่มการคัดเลือกทีมผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 20 ทีม โดยเป็นทีมจากประเทศเมียนมาร์ ลาว เวียดนามและฟิลิปปินส์ ประเทศละ 1 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันคัดเลือกให้เหลือเพียงทีมเดียวคือทีมล็อบส์เตอร์ จากสาขาอยุธยา
“สาเหตุที่เราไม่ได้เข้าร่วมครั้งแรกก็เพราะว่าในครั้งนั้น เป็นการแข่งขันเพียงรุ่นควอน (Qoun) เท่านั้น แต่ครั้งนี้ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือรุ่นควอนและรุ่นเควสเตอร์ ซึ่งประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของรุ่นเควสเตอร์ เราจึงเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้และเรามั่นใจว่าทีมประเทศไทยน่าจะสร้างผลงานได้อย่างน่าประทับใจ” นางสาวลดาวัลย์ กล่าว
ในการแข่งขัน GEMBA Challenge ปีนี้ มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 289 ทีมเพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้วมากกว่า 60% โดยในประเทศไทย มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 20 ทีม การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ เพื่อคัดให้เหลือเพียงทีมเดียวคือทีมล็อบส์เตอร์ ซึ่งประกอบด้วยนายสุดจิตร แก้วน้อย นายบุญทัย โคตรรมณี นายวัชรพงศ์ ยะขาวและนายวิชัยรัตน์ พันสนิท
– 2 –
“การแข่งขัน GEMBA Challenge นี้เป้าหมายสุดท้ายก็คือการสร้างจิตวิญญาณให้กับพนักงานยูดี ทรัคส์ ในการให้บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า การแข่งขันเป็นเพียงเครื่องมือที่จะบอกกล่าวถึงรายละเอียดของการให้บริการหลังการขายที่ดีแก่ลูกค้า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือจะมีการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในการแข่งขันแก่คนอื่นที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วม เช่นจุดบกพร่อง จุดที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เป็นต้น นอกจากนี้ ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน จะได้บทเรียนในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขัน ทั้งหมดนี้ เมื่อกลับเข้าสู่ที่ทำงานจริงแล้ว พวกเขาจะสามารถแก่ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน สิ่งสุดท้ายก็คือลูกค้าจะได้รับบริการที่ดีที่สุดของพนักงานในระดับต่าง ๆ” นางสาวลดาวัลย์ กล่าว

ในภาพ นางลดาวัลย์ และนายธีรวุฒิ ธนสารโสภิณ (ซ้ายสุด) เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาบุคลากร พร้อมด้วยสมาชิกทีมล็อบสเตอร์ เตรียมพร้อมเข้าสู่สนามแข่งขัน GEMBA Challenge รอบสุดท้ายที่ประเทศญี่ปุ่น