ProWine Asia 2018 เจาะลึกอุตสาหกรรมไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

0
245
image_pdfimage_printPrint

บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเอเชีย เช่น Rockland Distilleries

(ศรีลังกา), Siam Winery (ประเทศไทย) และ Rachelle The Rabbit Meadery (สิงคโปร์) จะ

ร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดในงาน ProWine Asia 2018 ร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่อีกมาก

มายในอุตสาหกรรม

ปัจจุบันผู้ผลิตไวน์ในเอเชียเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ผลิตไวน์

ชาวเอเชียที่ได้รับการอบรมจากต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลียและฝรั่งเศส ได้เดินทางกลับบ้าน

เกิดและนำเอาวิชาที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้กับการผลิตไวน์แบบดั้งเดิม การคงวิธีการผลิตแบบเก่า

และเสริมด้วยเทคนิคใหม่ๆ ทำให้ผู้ผลิตแต่ละเจ้าสามารถพัฒนาแบรนด์ไวน์และเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์ที่โดดโด่นไม่ซ้ำใคร แม้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอากาศร้อน แต่ผู้ผลิตไวน์ก็

สามารถผลิตไวน์ได้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการจัดเทศกาลเก็บเกี่ยวองุ่นเพื่อนำมาทำ

ไวน์อีกด้วย

คุณเอ็ดดี้ แม็คดูกอล ผู้บรรยายในงาน ProWine Asia 2018 กล่าวว่า “การทำงานกับ Asian

Wine Review ทำให้ผมตระหนักว่า ความตื่นตัวของการผลิตไวน์ในเอเชียไม่ใช่แค่กระแสแค่

ประเดี๋ยวประด๋าว การผลิตไวน์มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญทั่วเอเชียโดยได้แรงหนุนจากความ

สนใจในวงกว้าง ปัจจุบันมี 13 ประเทศในเอเชียตะวันออกที่ผลิตไวน์เพื่อการพาณิชย์ และ

สามารถสร้างดีมานด์ในประเทศของตนเอง ผมเห็นกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน จาก

การบริโภคไวน์นำเข้ามาสู่ไวน์ที่ผลิตในเอเชียเอง เวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับ

ผู้ผลิตไวน์ในภูมิภาค”

International Wine & Spirit Research (IWSR) เปิดเผยว่า ตลาดไวน์ทั่วโลกมีแนวโน้มว่า

จะเติบโตราว 25% ภายในปี 2022 โดยมีตลาดเอเชียเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ ขณะเดียวกัน

รายงาน Global Health Observatory Data Repository ปี 2015 ขององค์การอนามัยโลก (WHO)

ระบุว่า เวียดนามเป็นประเทศที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย (เป็น

รองแค่เกาหลี) ที่ระดับ 8.7 ลิตรต่อปี ส่วนประเทศไทยตามมาที่ระดับ 8.3 ลิตรต่อปี

อายุเฉลี่ยของประชากรในเอเชียนั้นต่ำกว่า 30 ปี ขณะที่ชนชั้นกลางและคนรุ่นใหม่มีแนว

โน้มว่าจะเข้าสังคมด้วยการดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น [1] ศักยภาพของตลาดเอเชียจึงไม่ได้จำกัดอยู่

แค่ในประเทศจีนอีกต่อไป แต่ยังรวมไปถึงตลาดเล็กๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายนนี้ ผู้เยี่ยมชมงาน ProWine Asia 2018 สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม

เกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุดของอุตสาหกรรมไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ที่ งานสัมมนาพิเศษ

รวมถึงกิจกรรมชิมไวน์และเวิร์กช็อปต่างๆ ที่จัดโดย วิทยากรที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรม

สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกองุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณแม็คดูกอล นักวิจารณ์ไวน์และผู้

ผลิตไวน์มือรางวัล จะจัดการบรรยายเกี่ยวกับไวน์และแนวโน้มของอุตสาหกรรมไวน์ในภูมิภาค

คุณเบียทริซ โฮ ผู้อำนวยการงาน ProWine Asia ซึ่งจัดโดย Messe Dusseldorf Asia กล่าว

ว่า “ผู้ผลิตไวน์ในเอเชียเริ่มสร้างชื่อให้แก่ตนเอง ในขณะที่อุตสาหกรรมไวน์และเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์กำลังขยายตัวเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากผู้ส่งออก”

“อย่างไรก็ดี ไวน์ยังคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงจำเป็น

ต้องมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมรวมถึงส่งต่อองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้ผลิตไวน์ในท้องถิ่นสามารถเพิ่มผล

ผลิตและยกระดับการคัดสรรผลิตภัณฑ์ เราตื่นเต้นมากที่งาน ProWine Asia ได้ทำหน้าที่เป็นเวที

ให้ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและนักธุรกิจได้พบปะพูดคุยและแบ่งปันมุมมองที่มีต่อโอกาส

ต่างๆในภูมิภาคนี้”

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่ http://singapore.prowineasia.com/speakers.html

ร่วมสนทนาผ่านทางโซเชียลมีเดีย:
PWA – Facebook , LinkedIn , YouTube #ProWineAsia #ProWein #PWA2018

เกี่ยวกับผู้จัดงาน
UBM – www.ubm.com/singapore
Messe Dusseldorf Asia – http://mda.messe-dusseldorf.com/

อ้างอิง
[1] https://blog.euromonitor.com/2018/02/demographic-social-shifts-boost-alcoholic-

drink-sales.html

สื่อมวลชนติดต่อสอบถามได้ที่:

จูเลียต เซง / จูน เซียะ
UBM
โทร. +65 6233 6635 / +65 6233 6621
อีเมล: Juliet.Tseng@ubm.com / June.Seah@ubm.com

แอลวิน ซิม
Messe Dusseldorf Asia
โทร. +65 6332 9621
อีเมล: alvin@mda.com.sg

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180326/2087664-1-a
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180326/2087664-1-b
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180326/2087664-1-c
โลโก้ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180326/2087664-1LOGO