Active Lerning: Classrooms of the Future Walailak University การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 5

0
315
image_pdfimage_printPrint

การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ให้มีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับแก้ไข พ.ศ.2545 การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) นับเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีม โดยผู้เรียนจะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยการกำกับตนเอง (Self Directed Learning) ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์เพิ่มเติม การเรียนรู้เกิดจากการสะสมประสบการณ์และการสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันควรได้รับการพัฒนา เพื่อค้นหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน โดยผู้สอนจะต้องปรับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 นับเป็นส่วนสำคัญยิ่งของการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของผู้เรียนอย่างแท้จริงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้จัดโครงการ การประชุมวิชาการระดับชาติ“การเรียนรู้เชิงรุก” ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “Active Learning:Classrooms of the Future” ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นำเสนอผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนเชิงรุก อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างมืออาชีพต่อไป

4. เนื้อหาของงานประชุมวิชาการ
4.1 Teaching and Learning
1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Case-based Learning)
2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study)
3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)
4) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study)
5) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)
6) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้(Research-based Learning)
7) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีการสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach)

4.2 Education in the Changing World
1) Student Engagement
2) Community Learning
3) Education Values and Values in Education
4) Education in the 21st Century
5) Communication and Meaning
6) Challenges and Innovations in Language Teaching and Learning
7) Flipped Classrooms