5 วิธีสยบขาเม้าท์ตลาดแตกในออฟฟิศ

0
292
image_pdfimage_printPrint

noisey-colleague-info

5 วิธีสยบขาเม้าท์ตลาดแตกในออฟฟิศ
โดยบริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

ขาเม้าท์มีอยู่ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสังคมในระดับไหน พวกเขาสามารถเม้าท์กันได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่สากกะเบือ ยันเรือรบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระดับชาติ ความรักดารา หรือเรื่องส่วนตัวของใครๆ ถ้าเม้าท์มอยถูกที่ ถูกทาง ถูกเวลา ก็สนุก ช่วยสร้างสีสันให้วันทำงานอันน่าเบื่อของเราได้ แต่ถ้ามากจนเกินไป ไม่รู้จักกาลเทศะ อาจทำลายสมาธิ และสร้างความรำคาญให้กับเพื่อนร่วมงานได้เช่นกัน วันนี้ jobsDB.com ขอเสนอวิธีรับมือกับปัญหาเรื่องมลภาวะทางเสียง(เม้าท์) ว่าเราจะสามารถรับมือได้ด้วยวิธีใดบ้าง
1. หาหูฟังมาใส่- ถ้าคุณชอบฟังเพลง ก็หาหูฟังมาใส่ปิดบังเสียงเม้าท์อันไม่พึงประสงค์ซะเลย จะได้เลือกฟังในสิ่งที่คุณอยากฟัง แต่ข้อนี้ต้องดูกฎของออฟฟิศด้วย เพราะบางบริษัทห้ามพนักงานใส่หูฟัง หรือฟังเพลงเวลาทำงาน แต่ถ้าไม่มีข้อห้ามอะไร วิธีนี้ก็ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด
2. ฝากคนไปเตือน – นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม คุณอาจใช้บุคคลที่ 3 ไปพูด ซึ่งจะทำให้แก๊งค์แมงเม้าท์ต้องหยุดคิดนิดนึงว่า เสียงเม้าท์มอยของพวกเขาเริ่มไปรบกวนสมาธิของเพื่อนร่วมงานรายอื่นๆ แล้ว ซึ่งวิธีนี้ คนที่จะไปพูดต้องมีวิธีพูดที่ดี ไม่พูดจารุนแรงจนเกิดไป ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาผิดใจกัน จนไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อีกก็ได้
3. พูดด้วยตัวเอง – สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ เมื่อคุณหาคนแชร์ความรู้สึกในบริเวณใกล้คียงกันได้ แต่ยังไม่มีใครมีความกล้าพอจะเอ่ย คุณคงจะต้องเป็นตัวแทนกลุ่มต่อต้านมลพิษทางเสียงด้วยตัวเอง โดยคุณอาจเดินไปบอกชาวเม้าท์แบบสุภาพๆว่า “เราชอบฟังที่พวกเธอเม้าท์กันนะ แต่ค่อยมาเม้าท์กันใหม่ตอนพักจะดีมั้ย นายฝากมาบอกน่ะ?” เชื่อเถอะว่า เงียบสงัดแน่นอน
4. แจ้งฝ่ายบุคคล – ถ้าทั้ง 3 ข้อที่บอกมา ยังไม่ทำให้เหล่าแมงเม้าท์สะท้านแต่อย่างใด และคุณเองก็รำคาญจนแทบทนไม่ไหว คงต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคลซึ่งเป็นแผนกที่ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพนักงาน ถ้าเหนือบ่ากว่าแรงของเราแล้ว คงต้องไปพึ่งการจัดการของฝ่ายบุคคล
5. ขอย้ายที่นั่ง – สุดท้าย ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ขอย้ายที่นั่งไปเลยจะดีกว่า แต่คำแนะนำนี้ก็อาจมีข้อจำกัดเรื่องของการจัดโซนที่นั่งและแผนก ซึ่งไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าทำได้ ก็ลองดู เพื่อแลกกับความสงบที่คุณจะได้รับ นับว่าคุ้มเลยทีเดียว

การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้น คงต้องอาศัยความเกรงใจ และนึกถึงใจเขาใจเรา จะเม้าท์มอยอะไรก็ให้อยู่ในขอบเขต และรู้จักกาละเทศะด้วย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และบรรยากาศของออฟฟิศที่มีความสุข

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
อันธิกา ลิมปิอนันต์ชัย สุชาย เฉลิมธนศักดิ์
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทรศัพท์: 02 667 0850 โทรศัพท์: 02 971 3711
อีเมลล์: Anthikal@jobsdb.co.th อีเมลล์: suchai@pc-a.co.th