ไอบีเอ็มครองแชมป์

0
531
image_pdfimage_printPrint

ไอบีเอ็มครองแชมป์ผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กรในอาเซียน ไตรมาส 3 ปี 2554

ไอบีเอ็มครองส่วนแบ่งตลาดรายได้เซิร์ฟเวอร์โดยรวมอันดับ 1 ในไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ช่วงไตรมาส 3 ปี 2554

กรุงเทพฯ 6 มกราคม 2555: ไอบีเอ็มเปิดเผยว่าบริษัทฯ ยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่องในตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กรของอาเซียน โดยครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ได้อย่างแข็งแกร่ง ตามข้อมูลรายงานจากไอดีซี บริษัทวิเคราะห์รายใหญ่

 

รายงานตลาดเซิร์ฟเวอร์รายไตรมาสในเอเซียแปซิฟิคของไอดีซีระบุว่า ไอบีเอ็มครองอันดับ 1 ในอาเซียนจาก non-x86 หรือยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม x86 ด้วย 59.1 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งขับเคลื่อนด้วย IBM Power Systems™และ System z servers รวมถึงส่วนแบ่ง 78.8 เปอร์เซ็นต์ในตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กร

 

สำหรับประเทศไทย ไอบีเอ็มเป็นผู้จำหน่ายเซิร์ฟเวอร์อันดับ 1 โดยครองส่วนแบ่งตลาดในแง่ของรายได้เซิร์ฟเวอร์โดยรวมสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 1.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ส่งผลให้บริษัทฯ มีส่วนแบ่งรายได้จากตลาดเซิร์ฟเวอร์โดยรวมสูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 15.1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2554

 

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2554 สำหรับ:

  • ตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กรระดับไฮเอนด์ (เซิร์ฟเวอร์ระดับราคา 250,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 82.1% (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 67.9 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว)
  • ตลาดเซิร์ฟเวอร์ RISC/EPIC ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 45% (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 15.3 เปอร์เซ็นต์)
  • ส่วนแบ่งตลาดในแง่ของรายได้จากยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม x86 อยู่ที่ 45.5 เปอร์เซ็นต์ (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 16.5 เปอร์เซ็นต์)
  • ส่วนแบ่งตลาดในแง่ของรายได้จากลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ อยู่ที่ 42.3 เปอร์เซ็นต์ (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ราว 12.3 เปอร์เซ็นต์)

 

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังรายงานความสำเร็จในตลาดใหม่ๆ ในประเทศไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยเป็นผลมาจากความสนใจและความสำเร็จใน Smarter Computing ซึ่งหมายถึงสถาปัตยกรรมอัจฉริยะที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก เพิ่มขีดความสามารถทางด้านไอที และนำเสนอบริการใหม่ๆ ได้รวดเร็วกว่า เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ก่อให้เกิดกำไรอย่างแท้จริง  เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้แนะนำแนวทาง Smarter Computing สำหรับการพัฒนาปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และสมรรถนะ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า  แนวทางดังกล่าวประกอบด้วยสามแง่มุมหลัก ได้แก่ การใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลในการรองรับเป้าหมายทางธุรกิจ การใช้ระบบที่ปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับงานที่เฉพาะเจาะจง และการบริหารจัดการระบบไอทีอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง

 

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “การที่เรารั้งตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการลงทุนในระบบที่หลากหลายและเทคโนโลยีชั้นนำ โดยเรามุ่งมั่นผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับขนาด และการปรับปรุงประสิทธิภาพ  ขณะที่คู่แข่งบางรายขาดความชัดเจนในเรื่องของทิศทางการดำเนินงาน แต่ไอบีเอ็มยังคงมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตและสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่ลูกค้าของเรา  ขณะที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงไว้วางใจให้ไอบีเอ็มช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัย เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และกระตุ้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเติบโตในอนาคต  ไอบีเอ็มดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อค้นหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือลูกค้า เราจึงพยายามที่จะนำเสนอโซลูชั่นที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้พลังงาน เพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ลูกค้าและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขัน”

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.