แถลงข่าว ละครร้อง ‘ศรีบูรพา บันทึกแห่งอิสรา’

0
439
image_pdfimage_printPrint

“กรงขังไม่ใช่อุปสรรคแห่งเสรีภาพหรอก แต่จิตใจที่ยอมจำนนต่างหาก ที่แม้อยู่นอกกรง ก็ยังไร้เสรี ไร้อิสระที่จะคิด
ไร้อิสระที่จะเรียกร้องซึ่งความชอบธรรม”

 AW_Poster_RGB_แถลงข่าว

คณะละครอนัตตา โดย ประดิษฐ ประสาททอง ร่วมกับ WRITER โดย บินหลา สันกาลาคีรี และ ศูนย์ศิลปะการละครสดใส พันธุมโกมล อักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดแสดงละครร้องเรื่อง ‘ศรีบูรพา บันทึกอิสรา’

ในปีครบรอบการจากไป 40 ปี ของศรีบูรพา นักเขียนเจ้าของเรื่องข้างหลังภาพ ซึ่งแม้สูญสิ้นอิสรภาพ งานเขียนของเขาไม่เคยติดคุกไปด้วย ย้อนเวลาไปในชีวิตศรีบูรพาหลายเหตุการณ์ และบันทึกหน้าสุดท้ายที่เขียนต่อเติมโดยคู่ชีวิตของเขา ชนิด สายประดิษฐ์
ขอเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมการขับร้องบทเพลงจากละครประกอบดนตรีสดโดยเครื่องดนตรีไทยและสากลจาก ประดิษฐ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธร ผู้กำกับและผู้ประพันธ์บท

และ มนฑกานต์ รังสีพราหมณกุล บรรณาธิการนิตยสาร Madam Figaro พิธีกรรายการ Deva Café ผู้รับบทชนิด สายประดิษฐ์

ในวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2557 เวลา 15.00 น. ณ สวนหน้าบ้านศรีบูรพา ที่อยู่ของศรีบูรพาเมื่อครั้งมีชีวิต

และถูกล้อมจับที่นี่ พร้อมชมนิทรรศการด้านในบ้านทั้งหนังสือหายาก ลายมือ บันทึกและข้าวของเครื่องใช้ของศรีบูรพาได้ตามอัธยาศัย

 

 

หมายเหตุ – การเดินทาง

-รถยนต์- ขับมาทางอนุสาวรีย์ชัยสมรถูมิ แล้วเลี้ยวเข้าทางดินแดง ด้านซ้ายมือมีห้องสมุดซอยพระนาง ขับรถเข้าซอยนั้น ตรงเข้ามาจนทะลุผ่านถนนใต้ทางด่วนเข้าซอยราชวิถี 4 หาที่จอดในซอย บ้านศรีบูรพาอยู่ซ้ายมือ (หาที่จอดรถค่อนข้างยากและซอยแคบ)

-รถไฟฟ้า- ลงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นวินมอเตอร์ไซค์ใต้ทางด่วน (ฝั่งก๋วยเตี๋ยวเรือพระนคร) ไปบ้านศรีบูรพา ซอยราชวิถี 4 (ซอยทะลุกับซอยพระนาง)

-รถประจำทาง- สาย 12, 24, 36, 69, 92, 168, 171, 172, 529, ปอพ.4-2 (ลงป้ายตรงข้ามสวนสันติภาพ)

 

คุณสนใจอะไรในตัวตนและผลงานของศรีบูรพา ทำไมถึงอยากทำละครเรื่องนี้

ผมเคยทำเรื่องของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม แต่ก็ไม่พอใจงานตัวเองนัก แม้ว่าคนอื่นจะชอบ สื่อมวลชนจะชอบ พอทำเรื่องศรีบูรพา ผมยังรู้สึกเหมือนเดิมว่าเราไม่เก่ง ต้องคิดหนักว่าจะเลือกเล่าชีวิตช่วงไหนดี

ผมคิดว่างานศรีบูรพาไม่ได้สุดขั้วไปทางไหน แต่พูดถึงชีวิต สังคม โลก มีความคลาสสิกอยู่ในตัวเอง พูดเรื่องมนุษย์และศิลปะอย่างมีอุดมคติ ไม่แข็งกระด้างดิบเถื่อน ไม่พาเราไปสู่ความรุนแรง ตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้ช่วยเยียวยาเรา