เอ320นีโอ ก้าวย่างสำคัญกับการทดสอบการใช้เครื่องยนต์ LEAP-1A ครั้งแรก

0
211
image_pdfimage_printPrint

นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของโครงการ เอ320นีโอ กับการทดสอบการใช้เครื่องยนต์ CFM international’s LEAP-1A ที่มีระบบ Turbofan อันทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นครั้งแรก ณ พีเบิล รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา การทดสอบ LEAP-1A ในครั้งนี้กรุยทางสู่การขอใบรับรองเพื่อจะนำเครื่องยนต์ LEAP มาใช้เป็นขุมกำลังขับเคลื่อน เอ320นีโอเป็นครั้งแรก ผลการทดสอบในครั้งนี้เครื่องยนต์ LEAP-1A ทำงานได้ตามความคาดหมายและประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนเครื่องบินขึ้นแบบเต็มกำลัง

 

มร.ฌ็อง พอล อีบังก้า ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ CFM International กล่าวว่า “นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ร่วมกันระหว่างทีมงาน CFM และทีมงานของแอร์บัส ในการบรรลุถึงเป้าหมายเร็วขึ้นกว่าแผนที่วางไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ถึง 2 วัน ผมขอขอบพระคุณทุกท่านสำหรับความไว้ใจ และการสนับสนุนมาโดยตลอด พวกเรามีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูล เอ320 และจะสานต่อดูแลรักษาวิถีของ CFM ที่ให้กับโครงการนี้สืบไป”

 

 

มร. เคลาส์ โลเว รองประธานอาวุโสแอร์บัส กลุ่ม เอ320นีโอ กล่าวว่า “เราขอแสดงความยินดีกับ CFM ในความสำเร็จกับการทดสอบการใช้เครื่องยนต์ LEAP-1A ในเครื่องบินแอร์บัสตระกูล เอ320นีโอ” มร. เคลาส์ โลเว ยังกล่าวอีกว่า “การริเริ่มทดสอบเครื่องยนต์ LEAP ของCFM เป็นก้าวสำคัญของการเดินทางร่วมกัน เรามุ่งหวังที่จะได้เห็นผลทดสอบอื่นๆและการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์นี้กับตัวเครื่องบิน”

 

เอ320นีโอนำเสนอเครื่องยนต์ 2 ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ คือ เครื่องยนต์แบบ PurePower PW1100G-JM ของ Pratt & Whitney และเครื่องยนต์แบบ LEAP-1A turbofan จาก CFM international ซึ่งตัวเครื่องแต่ละชนิด มีใบพัดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่มากขึ้นและแกนที่ล้ำสมัย ควบคู่ไปกับ อุปกรณ์ปลายปีกขนาดใหญ่อย่าง Sharklet ของแอร์บัส ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนี้ก็เพื่อความมั่นใจว่าตระกูลเครื่องบิน เอ320 ที่ขายดีที่สุดจะยังคงเป็นผู้นำทางตลาดต่อไป ในฐานะตระกูลเครื่องบินที่มีความสามารถและการจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องบินทางเดินเดี่ยวในอนาคตอันใกล้นี้

 

 

อุปกรณ์ปลายปลีก Skarlet ผ่านการรับรองการจาก EASA สำหรับติดตั้งกับเครื่องบินตระกูล เอ320 ทั้งหมด

 

ณ วันนี้  การผลิตเครื่องบินทุกรุ่นในตระกูล เอ320 ได้ผ่านการทดสอบบินแล้วกับปลายปีกแบบ Sharklet และปลายปีกแบบ Sharklet ยังได้รับการรับรองผลการทดสอบจาก EASA แล้ว ความสำเร็จลำดับถัดมาคือ ในวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา EASA ได้ทำการรับรองการติดตั้ง Sharklet กับเครื่องบิน เอ319 เครื่องยนต์ ไอเออี

 

โครงการเที่ยวบินทดสอบเพื่อรับรองผลปลายปีก Sharklet เริ่มในเดือนพฤษภาคม 2555 ใช้เวลาประมาณ 600 ชั่วโมงบินร่วมกับเครื่องบินรุ่นใหม่ในตระกูล เอ320 (เอ319 เอ320 เอ321) กับเครื่องยนต์ 2 ประเภท (CFM56 และ IAEV2500)

ปลายปีก (current wing-tip fence) ในเครื่องรุ่น เอ320 ปัจจุบันจะถูกแทนที่ด้วยปลายปีกเครื่องบินแบบSharklet ซึ่งสามารถลดอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงลดถึงร้อยละ 4

ปลายปีกเครื่องบินแบบ Sharklet เป็นตัวเลือกเสริมของตระกูลเครื่องบิน เอ320 ใหม่และเป็นปลายปีกแบบพื้นฐานของเครื่องบินโดยสารเอ320นีโอ  ณ ปัจจุบันนี้เครื่องบินติดตั้งปลายปีกแบบSharkletได้รับการส่งมอบไปแล้วกว่า 125 ลำแก่ลูกค้ามากกว่า 35 ราย

 

 

ความคืบหน้าของเครื่องบินเอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี กับพัฒาการการสร้าง

เครื่องบินเอ 350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบีมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบีมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดีในการขอใบรับรอง

 

  • MSN003-ซึ่งเหมือนกับ MSN1 จะนำออกมาบินอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า ขณะนี้ก็ได้ทำการทดสอบภาคพื้นดินแล้วในส่วนของเชื้อเพลิงและแรงดันแล้ว และได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ 2 ตัว แบบ Trent XWB ทั้งนี้  MSN003 จะถูกนำมาทดสอบในสภาพอากาศร้อนและเย็น ดังนั้นเวลาขึ้นบินครั้งแรกของ MSN003 จึงใกล้เข้ามาแล้ว
  • MSN002 เครื่อง เอ350 ลำแรกที่จะได้รับการตกแต่งภายในแบบเต็มรูปแบบ กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบโครงสร้าง และติดตั้งระบบไฟ ตัวเครื่องได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยัง สถานี30 (station 30) ณ สายการประกอบขั้นสุดท้าย (FAL) สำหรับการทดสอบภาคพื้นดินในร่ม ซึ่งหลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการติดตั้งอุปกรณ์ในห้องโดยสารต่างๆ (cabin monuments) เช่น ที่พักลูกเรือและห้องครัวที่ได้รับการติดตั้งในช่วงเดือนกันยายน ก่อนจะนำออกไปทดสอบภายนอก

 

  • MSN004 ได้ทำการประกอบโครงสร้างหลัก 3 ส่วนขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ ที่สถานี 50 (station 50)  ณ สายการประกอบขั้นสุดท้าย (FAL) ซึ่งขั้นตอนนี้เกิดขึ้นหลังจากการลำเลียงโครงสร้างลำตัวเครื่องบินทั้ง 3 ส่วนในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ถึงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะเป็นการประกอบส่วนปีกแพนหางระดับและแพนหางดิ่ง

 

  • MSN005 เครื่อง เอ350 ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา พร้อมการติดตั้งห้องโดยสารจะถูกส่งไปยังสายการประกอบขั้นสุดท้ายของแอร์บัสในอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า

 

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ ในเดือนสิงหาคม

ช่วงเดือนสิงหาคมแอร์บัสได้รับคำสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 10 ลำ ทำให้ปีนี้แอร์บัสมียอดสั่งซื้อรวมทั้งสิ้น 902 ลำ บริษัท CIT ลีสซิ่งสั่งซื้อ เอ321 จำนวน 5 ลำซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่าวงการอุตสาหกรรมการบินมีความต้องการเครื่องบินทางเดินเดี่ยวที่สามารถบรรทุกสัมภาระได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันกลุ่ม เท็กซัส เอวิเอชั่น (Texas Aviation group) และบริษัทในเครือได้ลงนามสัญญาสั่งเครื่องบินโดยสาร เอ319ซีโอจำนวน 4 ลำในเดือนสิงหาคม ส่วนสายการบินไชน่าอีสเทิร์นได้สั่งซื้อเครื่องบิน เอ330-200 ตัวลำกว้างจำนวน 1 ลำ

ในส่วนของการส่งมอบไฮไลท์ของเดือนคือการส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำที่ 8,000 และได้ส่งมอบ เอ320 แก่สายการบินอินโดนีเซียแอร์เอเชีย และการส่งมอบครั้งที่ 47 ของเดือนคือการส่งมอบเครื่องบิน เอ321 ลำแรกให้แก่สายการบินฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ และการส่งมอบนี้ยังถือเป็นการส่งมอบ เอ321ครั้งที่54 ในปีนี้ด้วย  นอกจากนั้น ยังมีการส่งมอบ เอ380 อีก 2 เครื่อง ซึ่งนับว่าในปีนี้แอร์บัสสามารถส่งมอบเครื่องบิน เอ380 รวมทั้งหมด 11 ลำตามกำหนดการที่วางไว้ และข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม เครื่องบินแอร์บัสจำนวน 394 ลำ ได้ทำการส่งมอบแก่ลูกค้า 83 ราย ในปี  พ.ศ.2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ8 จากช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2555 เมื่อมองถึงยอดส่งมอบและยอดสั่งซื้อประจำเดือน ทำให้จนถึงปลายเดือนสิงหาคมแอร์บัสมีงานในมือถึง 5,190 ลำแล้ว

 

แอร์บัส โปรสกาย จะปฏิบัติงานด้วยดำเนินการแบบ RNP-AR-to-ILS transition approach ณ สนามบิน เฉิงตู ประเทศจีน

แอร์บัสมอบหมายให้บริษัทจัดการจราจรทางอากาศอย่าง แอร์บัสโปรสกาย (Airbus Prosky) ทำงานกับ สำนักงานการจัดการการจราจรทางอาการของประเทศจีน (China’s Air Management Bureau-ATMB) เพื่อให้เครื่องบินพาณิชย์สามารถดำเนินการในระบบ RNP AR สู่สนามบินเฉิงตู แล้วทำการถ่ายโอนระบบลงสู่ภาคพื้นแบบ the ground-based precision ILS เมื่อเข้าใกล้สู่รันเวย์ ซึ่งความสามารถที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะทำให้สนามบินมีสามารถในการรองรับมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลงระหว่างแอร์บัสโปรสกาย (Airbus Prosky) และสำนักงานการจัดการการจราจรทางอากาศของประเทศจีน (China’s Air Management Bureau-ATMB)ภายใต้การบริหารการบินพลเรือนจีน (CAAC)

ในปี พ.ศ.2554 แอร์บัสและพันธมิตรใน VINGA ทำ การทดสอบบินกับเครื่องบิน เอ321เป็นครั้งแรกของโลกโดยใช้ระบบการเปลี่ยนแบบ RNP-AR-ILS ที่สนามบินโกเธนเบิร์ก แลนด์เวิตเตอร์ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน โดยการเชื่อมโยงวิธีการที่มีความแม่นยำแบบ ILS กับ RNP arrival สภาพการบินแบบต่ำสุด (low-minima conditions อาทิในระดับ 2,000 ฟุตหรือต่ำกว่านั้น) จะไม่เป็นปัญหาและมีความยืดหยุ่นกับเครื่องบินขาเข้ามากยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงดังกล่าวยังทำให้มั่นใจได้ว่าจะทำให้เสียงรบกวนและการเผาผลาญเชื้อเพลิงลดลงผ่านการติดตามที่น้อยกว่า (less track -miles) ซึ่งสามารถทำได้อย่างเป็นระบบในทุกสภาพอากาศ

 

โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM และการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของเครื่องบินตระกูล เอ320 กำลังอยู่ในกระบวนการผลิต

เครื่องบินตระกูล เอ320  จะเข้าร่วมกับเครื่องรุ่นต่างๆของแอร์บัส ในการให้บริการเต็มรูปแบบของโซลูชั่นการเชื่อมต่อจากสายการผลิต โดยจะมีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM และการเชื่อมต่อ Wi-Fi บนเครื่อง เอ320  เครื่องแรกกำลังจะแล้วเสร็จที่สายการประกอบขั้นสุดท้ายในตูลูส อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งทั้ง2ที่จะจัดส่งประกอบด้วย อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ด้วยขอเสนอล่าสุดจากเครื่องตระกูล เอ320 นี้ เครือข่ายสถาปัตยกรรมสายการบินของแอร์บัส (Airbus’ Airline Network Architecture (ALNA v2) พร้อมแล้วในการผลิตเครื่องแอร์บัสในทุกตระกูล เอ330 เอ380 และในเร็วๆ จะมีการติดตั้งบนเครื่องตระกูลเอ350เอ็กดับเบิ้ลยูบีเช่นกัน

ในปัจจุบันสายการบินต่างๆ มีความต้องการบริกาการเชื่อมต่อบนเครื่องมากยิ่งขึ้นสำหรับทุกขนาดลำเครื่อง รวมถึงเที่ยวบินระยะสั้นและระยะยาวก็มีความต้องการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือด้วยเช่นกัน

 

อเมริกันแอร์ไลน์จะเปิดตัวเที่ยวบินข้ามทวีปกับเครื่องบิน เอ321 ในรูปแบบ 3 ระดับ (3 Calss layout) พร้อมเตียงแนวราบเต็มรูปแบบ และ การเชื่อมต่อ Wi-Fi

 

ในเร็วๆนี้สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์กับเครื่องแอร์บัส เอ321 ลำใหม่ ที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ปลายปีก Sharklet จะมีบริการเพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารในเที่ยวบินข้ามทวีป โดยการตกแต่งภายในแบบสามระดับเต็มรูปแบบ มีที่นั่งแบบเอนแนวราบทั้งสองชั้น คือ ชั้นหนึ่ง และชั้นธุรกิจ เป็นครั้งแรกก่อนสายการบินใดๆ  โดยสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์จะได้รับมอบเครื่อง เอ321 ที่สั่งทำพิเศษนี้ในช่วงปลายปี ซึ่งจะมีเที่ยวบินแบบบินตรงภายในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกระหว่างมหานครนิวยอร์ก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK) และ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส  (LAX) ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 2, 500 ไมล์ และเที่ยวบินต่อไประหว่าง ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK) และท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก (SFO)  ซึงเป็นระยะทางประมาณ 2, 600 ไมล์

ภายในเครื่อง เอ321 ใหม่ ลูกค้าจะสามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ได้ทั่วทั้งห้องโดยสาร และยังสามารถเพลิดเพลินกับระบบความบันเทิงในที่นั่ง (in-seat inflight entertainment -IFE) อีกทั้งมีช่องปลั๊กจ่ายไฟฟ้าแบบสากล 110v และช่องเสียบสาย USB ในทุกๆที่นั่ง เครื่องโดยสารยังห้องครัวเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกสำหรับเครื่อง เอ321 อีกด้วย

 

ลูกค้าสัมพันธ์ของแอร์บัส มีบริการ AP / FD-TCAS สำหรับเครื่องบินที่ใช้ประจำการ (in-service aircraft)

 

แผนกลูกค้าสัมพันธ์ของแอร์บัส ได้เปิดโอกาสให้สายการบินต่างๆได้มีโอกาศยกระดับเครื่องบินที่ใช้ประจำการ (in-service aircraft) ด้วยระบบ Auto-Pilot/Flight-Director Traffic alert และระบบ Collision Avoidance System นี้เป็นฟังก์ชั่นใหม่ซึ่งจะช่วยให้นักบิน บินโดยหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดปัญหากับระบบTCAS ทั้งกับระบบนักบินอัตโนมัติและการบินโดยอาศัยระบบนำร่อง

 

แอร์บัสได้แนะนำแพ็คเกจโซลูชั่นที่ครอบคลุมการกำหนดค่าเครื่องบินทุกรูปแบบเพื่อเป็นการกระตุ้นสายการบินต่างๆให้มาใช้บริการการยกระดับ โดยสายการบินจะได้รับประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติงานรวมทั้งการรับมือกับระบบป้องกันการชน ห้องเครื่องมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และฟังก์ชันการจัดการเที่ยวบินและฟังก์ชันการแสดงผลแบบล่าสุด เรียกได้ว่าเครื่องบินรุ่นเก่าจะได้รับประโยชน์จากการยกระดับระบบนี้มากยิ่งขึ้น

 

ยิ่งกว่านั้นระบบโซลูชั่นยังมีการแก้ไขปัญหาในวงกว้างควบคู่ไปกับวิธีการเพื่อความสะดวกสบายที่จัดเป็นแพ็คเกไว้ให้เหมาะสมสำหรับเครื่องแต่ละชนิด แต่ละแพ็คเกจยังวางรากฐานที่ดีสำหรับการเติบโตในอนาคตและคำนึงถึงความสามารถต่างๆ เช่น ระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ (Automatic Dependent Surveillance Broadcast) และ ผลการปฏิบัติงานนำร่องที่จำเป็น (Required Navigation Performance)

 

แอพพลิเคชั่นและฟีเจอร์ใหม่ของแอร์บัสเปืดให้ใช้แล้วบน IPAD-EFB

 

ตั้งแต่การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “ฟลายสมาทร์ วิท แอร์บัส”  (Fly Smart with Airbus) บน Ipad กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาลูกค้าเกือบ 60 รายได้เลือกใช้ระบบ Electronic Flight Bag (EFB) solution และประมาณร้อยละ 10 ของนักบินแอร์บัสทั่วโลกได้ใช้อุปกรณ์นี้แล้ว หลังจากเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายแรกที่ได้ให้บริการระบบ แอพพลิเคชั่นEFB performance-calculating สำหรับนักบินบน ipad แล้ว

แอร์บัส ยังขยายพอร์ตโฟลิโอด้วยการเพิ่มแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เข้าไปอีกด้วย

~ ฟลายสมาร์ท วิท แอร์บัส/แมนเนเจอร์ (FlySmart with Airbus / Manager) ช่วยให้ผู้ใช้ได้อัพเดตข้อมูลการดำเนินงานของ EFB แอพพลิเคชั่นแบบศูนย์กลางและตรวจสอบเวอร์ชั่นของ EFB

~ ฟลายสมาร์ท วิท แอร์บัส/แมนเนเจอร์/โหลดชีท (FlySmart with Airbus / Loadsheet) ช่วยให้นักบินคำนวณข้อมูลน้ำหนักและความสมดุลของเครื่องบินตามรุปแบบการใช้งานเครื่องบินและความสามารถในการบรรทุก รวมทั้งช่วยในการพิจารณาการจัดการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในนาทีสุดท้าย

 

นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นยังมีคุณสมบัติใหม่ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อช่วยนำเครื่องขึ้นและการนำเครื่องลง เช่น แอพพลิเคชั่น Optimum configuration และ แอพพลิเคชั่น Export of Computations and Computation Time Improvement.

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ

เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์/ ธัญธิดา ธรรมครูปัตย์                   + 66 2 260 5820 ต่อ 115/ 120

 

 

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับนักข่าว:

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

หากต้องการดูข่าวเหล่านี้โปรดคลิกที่ลิงค์ด้านล่างนี้หรือเยี่ยมชม www.airbus.com

 

 

For your diary – งานกิจกรรมต่างๆที่กำลังจะมาถึงและAir shows

ในระยะใกล้ที่แอร์บัสสื่อสัมพันธ์เป็นปัจจุบัน

 

  • APEX Expo, Anaheim, California USA:               9-12 กันยายน
  • Aviation Expo China                                             25-28 กันยายน
  • NBAA, Las Vegas, USA                                       22-24 ตุลาคม
  • Seoul ADEX Airshow, South Korea:                    29 ตุลาคม – 3พฤศจิกายน
  • Dubai Air Show, United Arab Emirates:               17-21พฤศจิกายน

 

รายการเครื่องบินปัจจุบันการสั่งทำและการส่งมอบ: (สรุป 31 สิงหาคม 2556)

 

  ตระกูล เอ320 เอ330 เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี เอ380
คำสั่งซื้อ 9,821 1,256 682 262
ส่งมอบ 5,715 1,008 0 108