เหล่าผู้เชี่ยวชาญถกประเด็นวัฒนธรรมเชิงเครือข่ายยุคดิจิทัลที่หนานหนิง

0
510
image_pdfimage_printPrint

การประชุม China-ASEAN Information Harbor Network-Based Cultural Development Forum จัดขึ้นในเมืองหนานหนิง

การประชุม China-ASEAN Information Harbor Network-Based Cultural Development Forum จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่นครหนานหนิง มณฑลกว่างซี ตามการรายงานของเว็บไซต์ gx.cri.cn การประชุมดังกล่าวมีขึ้นในหัวข้อ “มนุษยชาติถูกหลอมรวมด้วยนวัตกรรมเพื่อนำทางชีวิตดิจิทัล” เพื่อแสวงหาแนวทางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเชิงเครือข่ายระหว่างจีนกับประเทศแถบอาเซียน พร้อมรวบรวมความคิดเห็นด้านการพัฒนา และรอคอยโอกาสด้านความร่วมมือ

คุณ Fan Weiping (รองอธิบดีกรมวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติจีน) คุณ Huang Junhua (รองประธานเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) และคุณ Razmountry Sacankhone (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งสปป.ลาว) ได้เข้าร่วมการประชุมและกล่าวสุนทรพจน์ โดยมีแขกเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้รวมกันกว่า 250 คน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้บริหารองค์กร ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้สื่อข่าวจากจีนและประเทศอาเซียน พวกเขาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความสำเร็จของความร่วมมือด้านวัฒนธรรมเชิงเครือข่าย นับตั้งแต่ที่ได้ก่อตั้ง China-ASEAN Information Harbor ขณะเดียวกันก็ได้แสวงหาแนวคิด ความคิด และการคิดรูปแบบใหม่ ๆ ด้านการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงเครือข่าย

การประชุมครั้งนี้นำโดยสำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน จัดงานโดยรัฐบาลประจำเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และบริหารจัดการโดยสำนักงานสื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์แห่งเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซประจำเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และสถานีวิทยุกระจายเสียงนานาชาติแห่งประเทศจีน ออนไลน์ (CRI Online) การประชุมดังกล่าวเป็นงานประชุมระดับสูงครั้งแรกที่จัดขึ้นในแวดวงมนุษยศาสตร์เชิงเครือข่ายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการสร้างมณฑลกว่างซียุคดิจิทัล รองรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นภูมิภาคทางวัฒนธรรมและเครือข่ายที่แข็งแกร่ง พร้อมยกระดับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเครือข่ายจีน-อาเซียน

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงมุ่งคว้าโอกาสที่มีขึ้นจากกระแสเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจะทุ่มเทในด้านรัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมดิจิทัล และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการหลอมรวมของเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ อินเทอร์เน็ต บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ เข้ากับเศรษฐกิจแท้จริง การบริหารจัดการในภาครัฐ การปกครองสังคม บริการด้านความเป็นอยู่ของประชาชน และความร่วมมืออย่างเสรี การประชุมดังกล่าวมุ่งมั่นสร้างประตูสำคัญที่จะเปิดพื้นที่ใหม่แก่เทคโนโลยีดิจิทัล เช่นเดียวกับเส้นทางสายไหมดิจิทัล ที่เปิดโอกาสสู่ความร่วมมือของประเทศแถบอาเซียน เพื่อนำแรงผลักดันใหม่ ๆ เข้าสู่การยกระดับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเชิงเครือข่ายจีน-อาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมเสริมสร้าง China-ASEAN Information Harbor ให้แข็งแกร่ง

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180914/2238329-1