เปิดตัวแคมเปญ Fin Free

0
232
image_pdfimage_printPrint

กรุงเทพฯ – 12 กุมภาพันธ์ 2556

ในโอกาสวันฉลองตรุษจีนปีนี้ กลุ่มนักอนุรักษ์ในประเทศไทย เซเลบริตี้ นักเรียน นักศึกษา เซฟชั้นนำ และกลุ่มธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันเพื่อเปิดตัวแคมเปญใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ธุรกิจและการบริโภคหูฉลามในประเทศไทยหมดไป

แคมเปญฟินฟรีประเทศไทย (Fin Free Thailand) สนับสนุนให้ธุรกิจห้างร้านต่างๆ ไม่ขายหูฉลาม และแนะนำให้ผู้บริโภค

หยุดการบริโภคหูฉลามโดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการบริโภคหูฉลามที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพของผู้บริโภคเอง รวมทั้งเชิญชวนโรงแรม ภัตตคาร และซุปเปอร์มาเก็ตที่ขายหูฉลามอยู่ในปัจจุบัน ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด Fin Free และหยุดการขายหรือเสิร์ฟหูฉลาม ผ่านการรณรงค์และจดหมายร้องเรียนโดยประชาชน (Public Petition)

 

“มันเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจอย่างมาก ที่ฉลามกว่า 73 ล้านตัว ถูกฆ่าอย่างโหดร้ายในทุกๆ ปี เพียงเพื่อจะนำเอาครีบของ

ฉลามมาทำเป็นอาหารจานหรูให้คนบางกลุ่ม มันเป็นโศกนาฏกรรมและความสูญเสียที่เปล่าประโยชน์จริงๆ คะ” คุณซินดี้ สิรินยา เบอร์บริดจ์ บิช็อป กล่าวในฐานะทูตประจำแคมเปญและนักดำน้ำคนหนึ่ง

 

การประมงที่ทำทั้งอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมายทำให้จำนวนประชากรฉลามทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะตอบ

สนองตลาดซุปหูฉลาม ฉลามบางสายพันธุ์มีจำนวนลดลงกว่า 99% ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา และจำนวนประชากรฉลามที่

ลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทำให้เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อสภาพของมหาสมุทรทั่วโลกใน

อนาคต

 

ในงานเปิดตัวแคมเปญนี้ มูลนิธิฟรีแลนด์จะให้ข้อมูลผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

หูฉลาม เมื่อปีพ.ศ. 2554 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจหูฉลามได้พยายามฟ้องร้ององค์กรของเรา (ในขณะนั้นมีชื่อว่า ไวล์ดเอด ประเทศไทย) เป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท ด้วยเหตุผลที่ว่าองค์กรได้เปิดเผยผลงานวิจัยซื่อพิสูจน์ว่าหูฉลามมีส่วนประกอบ

ของสารตะกั่วจำนวนมากและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนั้น ผลงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้เผยให้ทราบว่าหูฉลาม

มีส่วนประกอบของ Bio-accumulated toxin (BMAA) ซึ่งมีผลเป็นพิษต่อระบบประสาท

 

“มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริโภคจะต้องรับรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่พวกเขากำลังบริโภคอยู่นั้นมีผลกระทบอย่างไรต่อสุขภาพของเขาและคนใกล้ชิด” ชนัดดา ธานีกุลภัทร์ เจ้าหน้าที่สื่อสารสัมพันธ์ มูลนิธิฟรีแลนด์กล่าว “และในขณะเดียวกัน ดิฉันเชื่อว่า กลุ่มธุรกิจการบริการ ก็คงต้องการที่จะดูแลสุขภาพของลูกค้าและปกป้องสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน”

 

แคมเปญ Fin Free Thailand ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย กลุ่มธุรกิจ และองค์การ

เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)

 

แนนซี่ กิ๊บสัน จากมูลนิธิรักสัตว์ป่ากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่เห็นเครือโรงแรมต่างๆ ให้ความสนใจในแคมเปญนี้ รวมทั้งสนับสนุนและเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ฉลามและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่จะสร้างความ

เปลี่ยนแปลงให้กับโลกนี้ได้ก็คือคนในสังคมทุกคน ดังนั้น ดิฉันร้องขอให้ใครก็ตามที่ใส่ใจในเรื่องนี้ออกมาเรียกร้องให้กับ

พวกฉลามกันคะ”

 

แคมเปญนี้ดำเนินงานโดยมูลนิธิฟรีแลนด์ มูลนิธิรักสัตว์ป่า Change.org ประเทศไทย กลุ่ม A Call for Animal Rights และ Onnesse พวกเรายังคงมองหาผู้ร่วมอุดมการณ์เพิ่มเติมเพื่อช่วยให้แคมเปญเข้าถึงสังคมได้มากขึ้น

 

“เราได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากกลุ่มคนในสังคม” คุณตุลย์ ปิ่นแก้ว ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์ องค์กร Change.org ประเทศไทย กล่าว “ผมเชื่อว่าแคมเปญนี้จะสามารถปลุกกระแสอนุรักษ์ในสังคมได้อย่างต่อเนื่อง และเราจะได้เห็นความ

เปลี่ยนแปลงที่ดีจากเครือโรงแรมต่างๆ อย่างแน่นอน”

 

โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ ได้ให้ความสนับสนุนการจัดกิจกรรมปิดตัวแคมเปญนี้ เครือโรงแรมบันยันทรีโฮเทลแอนด์รีสอร์ท ตัดหูฉลามออกจากรายการอาหารมานานกว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในเครือโรงแรมแรกๆ ในประเทศไทยที่ดำเนินงาน

ภายใต้นโยบาย Fin Free (ไม่มีหูฉลาม)

 

หลังจากกิจกรรมเปิดตัวแคมเปญ ทุกท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรม Walk Rally กับกลุ่มประชาชนและนักอนุรักษ์ที่จะ

เดินขบวนและทำกิจกรรมเชิญชวนให้คนในกรุงเทพฯ หยุดการบริโภคหูฉลาม

 

กิจกรรมรณรงค์ประกอบด้วย:

  • เว็บไซต์ (ภาษาไทย + อังกฤษ) และช่องทาง social media ต่างๆ
  • TVC ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวอธิบายความเสี่ยงและผลกระทบจากการบริโภคหูฉลาม
  • คลิปวีดิทัศน์สนับสนุนรับรอง/ เรียกร้องของโครงการโดยทูตผู้รณรงค์
  • จัดกิจกรรมงานแถลงข่าว การเดินรณรงค์ และการรวมตัวสั้นๆ (flash mob)