“อมตะ” เปิด “depa Amata smart classroom” ห้องเรียนอัจฉริยะ และ “อมตะสมาร์ทซิตี้โชว์เคส” พร้อมก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0

0
645
image_pdfimage_printPrint

นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีจับมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เปิดตัว“depa Amata smart classroom ห้องเรียนรู้อัจฉริยะแห่งแรกในนิคมฯอมตะซิตี้ชลบุรี หวังเป็นศูนย์กลางพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลรองรับเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของไทยในพื้นที่อีอีซี พร้อมจัดแสดง“อมตะสมาร์ทซิตี้โชว์เคส”เมืองแห่งอนาคต
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในงาน พิธีเปิดห้องเรียนรู้อัจฉริยะ (DEPA AMATA Smart Classroom) และAMATA SMART City Showcase นิคมอมตะซิตี ชลบุรี ในวันนี้ (24 สิงหาคม ) ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่มอมตะได้ดำเนินการถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ตามนโยบายยุทธศาสตร์ 20 ปี ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร ที่จะต้องให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆมาใช้ในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ไทยมีขีดความสามารถการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
“ทั้งนี้การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย เป็นหนึ่งใน 12นโยบายหลักของรัฐบาล ซึ่ง โครงการนี้ตอบโจทย์ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ แบบเปิดที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ตอบสนองกับความต้องการตลาดแรงงานในอนาคต สอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาประเทศยุคเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคตหรือยุค 4.0”
นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อมตะได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ในการเปิดห้องเรียนรู้อัจฉริยะ (DEPA AMATA Smart Classroom) และAMATA SMART City Showcase ซึ่งตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมในการพัฒนาบุคคลากรที่สามารถรองรับกับอุตสาหกรรมในอนาคต

(future workforce) และ เป็นการปฎิบัติการในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นการสนับสนุนแผนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แห่งแรกของไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)
“ห้องเรียนรู้อัจฉริยะ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมอมตะสมาร์ทซิตี้โชว์เคส ซึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมของเมืองอมตะสมาร์ทซิตี้ โดยมีบริษัทชั้นนำเข้าร่วมจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาทิ Yokohama Urban Solution Alliance (YUSA), Jiangsu Smart City Construction Management, SAAB, Nissan, Delta, HitachiLumada Center เป็นต้น” นายวิกรมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในกิจกรรมครั้งนี้ ทางสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(ATSI) และเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASCN) ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากเมืองต่างๆในอาเซียนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่อมตะสมาร์ทซิตี้โชว์เคส เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ของกลุ่มอมตะ ซึ่งจะนำไปเป็นต้นแบบการพัฒนาในพื้นที่นิคมการลงทุนของประเทศอื่นๆ ได้
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่าทาง DEPA ให้การสนับสนุนโครงการห้องเรียนรู้อัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้น10,000 คนต่อปี และมีเป้าหมายระดับประเทศในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในระดับทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือ Literacy Skillและ ระดับมืออาชีพหรือProfessional Skill อยู่ที่ 40,000 คนต่อปี โดยภายใน 5 ปีจากนี้ ประเทศไทยจะมีทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัลทั้งสิ้น180,000 คน