วว. ผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร 5 มหาวิทยาลัยรัฐ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทย์-เทคโนโลยี-นวัตกรรม ปักหมุดพัฒนาผู้ประกอบการโอทอปในพื้นที่ 10 จังหวัดเป้าหมาย

0
836
image_pdfimage_printPrint

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดแผนงานเชิงรุกจับมือ “5 มหาวิทยาลัยภาครัฐ” ลงนามความร่วมมือเดินหน้าส่งตรงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมสู่ท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัด มุ่งพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการโอทอป สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน/ประเทศ

นายวิรัช จันทรา รองผู้ว่าการกลุ่มบริการอุตสาหกรรม และรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามความร่วมมือในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการโอทอปในพื้นที่ 10 จังหวัดเป้าหมาย คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นราธิวาส ปัตตานี กาฬสินธุ์ นครพนม ชัยนาท ตาก บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ และจังหวัดน่าน กับ 5 มหาวิทยาลัยภาครัฐ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยด้วยนโยบายนวัตกรรมของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณค่าให้สามารถแข่งขันในตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

“…เป้าหมายสำคัญภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ คือการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมนวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขัน ไปใช้ในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการโอทอปในท้องถิ่น และร่วมดำเนินการเชิงบูรณาการตลอดจนเกิดการพัฒนาเครือข่าย วทน. อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาของภาคเศรษฐกิจและสังคมจากหน่วยที่เล็กที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการโอทอปและกลุ่มเกษตรกรได้นำเสนอความต้องการพัฒนาทาง วทน. เพื่อจับคู่เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาหรือสินค้าของตน ซึ่งจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อีกทั้งยังมีแผนงานต่อเนื่องเป็นการคัดเลือกต้นแบบผู้ประกอบการ OTOP เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการสินค้า OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ และของตกแต่ง ด้วย วทน. ในพื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัด เพื่อสร้างความยั่งยืน และทำให้เห็นผลสัมฤทธิ์ในการใช้ วทน. อย่างเป็นรูปธรรม…” นายวิรัช จันทรา กล่าว