ร่วมรณรงค์โครงการสำคัญ Human Face of Big Data จัดงาน “Mission Control” ที่นิวยอร์กซิตี้ ลอนดอน และสิงคโปร์ จุดประกายการสนทนาอย่างกว้างขวางทั่วโลก

0
233
image_pdfimage_printPrint

ผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ นำเสนอตัวอย่างผลงานที่ยอดเยี่ยม ชี้ให้เห็นผลกระทบของบิ๊กดาต้าต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา

 

 

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 5 ตุลาคม 2555 – วันนี้ มีการพูดคุยกันทั่วโลกเกี่ยวกับ The Human Face of Big Data ที่งาน “Mission Control” ซึ่งจัดขึ้นที่ลอนดอน สิงคโปร์ และนิวยอร์ก  ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงาน (และผู้คนทั่วโลกที่รับชมการถ่ายทอดสดทั่วโลก) ได้ร่วมสัมผัสความสามารถใหม่ของมนุษยชาติในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ เชื่อมโยง และแสดงผลข้อมูลจำนวนมหาศาลในแบบเรียลไทม์  ริค สโมแลน (Rick Smolan) ผู้ร่วมสร้างสรรค์ชุดภาพถ่าย “Day in the Life” อันเลื่องชื่อ รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่ระดมทรัพยากรจากทั่วโลก และอีเอ็มซี ผู้สนับสนุนหลักของโครงการ The Human Face of Big Data แสดงศักยภาพของบิ๊กดาต้า (Big Data) ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโลกของเรา แก้ไขปัญหาที่รุนแรงที่สุดในยุคสมัยของเรา และสร้างระบบประสาทส่วนกลางสำหรับโลกของเรา

 

สโมแลนกล่าวว่า “บิ๊กดาต้าเริ่มส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของชีวิตคนเรา โดยทุกคนที่ถือสมาร์ทโฟนจะทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดโลกของเราในแบบเรียลไทม์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่การรักษาโรคไปจนถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่า เช่น น้ำ และพลังงาน บิ๊กดาต้าอาจเป็นเครื่องมือที่เราจำเป็นต้องใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญหลายๆ อย่างในยุคสมัยของเรา”

 

ที่งาน Mission Control ที่นิวยอร์กซิตี้ ผู้เข้าร่วมงานได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายจากบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่าง คาร์ลอส โดมินเกซ, เอสเธอร์ ไดสัน, ฮวน เอ็นริเควซ, เชลดอน กิลเบิร์ต, สก็อต แฮร์ริสัน, แอรอน กอบลิน, เด็บ รอย, พอล ซาแกน และเจอร์ ธอร์ป  นอกจากนี้ยังสามารถดูตัวอย่างรูปภาพและเรื่องราวจากหนังสือ “The Human Face of Big Data” ที่กำลังจะมีการเปิดตัว หนังสือดังกล่าวประกอบด้วยภาพถ่าย ความเรียง และภาพอินโฟกราฟิกโดยไนเจล โฮมส์ โดยจะมีการจัดส่งหนังสือให้แก่ผู้นำประเทศ นักวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารในภาคธุรกิจ และผู้ทรงอิทธิพลอื่นๆ 10,000 คนในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ในวันที่ 20 พฤศจิกายน

 

จากนั้น ผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ได้ร่วมกันนำเสนอตัวอย่างผลงานใน “ห้องแล็บบิ๊กดาต้า” (Big Data Lab) แบบอินเทอร์แอคทีฟ

 

งาน Mission Control ที่สิงคโปร์ ผู้บรรยายได้แก่ คริสเตียน โคลเคิล และรัสเซล จอห์น  ส่วนที่ลอนดอน ผู้บรรยายคือ เจค พอร์เวย์ และเดฟ ลันด์เบิร์ก

 

“จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสดงให้เห็นว่าบิ๊กดาต้าไม่ได้เป็นแค่เรื่องของรหัสศูนย์และหนึ่งเท่านั้น หากแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไป และริครู้วิธีที่จะแสดงให้เราเห็นถึงผลกระทบที่ว่านี้ เขามีหนทางที่แปลกใหม่ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ และเปิดโอกาสให้ทุกคนทั่วโลกได้มีส่วนร่วมในโครงการประเภทนี้” เอสเธอร์ ไดสัน ผู้ก่อตั้ง EDVenture และผู้บรรยายในงานที่นิวยอร์ก

 

 

“ด้วยบิ๊กดาต้า เราสามารถทำได้มากกว่าการแยกข้อความจำนวนมากที่ไหลเวียนอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงผู้สร้างข้อความนั้น โดยเราสามารถระบุได้ด้วยซ้ำไปว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดในโซเชียลมีเดีย เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นกระตุ้นให้เกิดการสนทนาแบบเรียลไทม์มากแค่ไหน การรวบรวมข้อมูลบิ๊กดาต้าช่วยให้เราสามารถระบุตัวบุคคลหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลในแต่ละอุตสาหกรรม” เด็บ รอย ผู้ร่วมก่อตั้งและประธาน Bluefin Labs

 

“บิ๊กดาต้าก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางต่อโลกของเรา และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราสามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราเองเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเข้ากับวิสัยทัศน์และความมุ่งหมายทางด้านสังคม เราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากกว่าเพียงแค่การตัดสินใจว่าจะดูภาพยนตร์เรื่องใดหรือจะกินอาหารที่ร้านไหน กล่าวคือ เราจะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงโลกของเราให้น่าอยู่มากขึ้น” เจค พอร์เวย์ กรรมการบริหารของ DataKind กล่าว

 

นอกจากนี้ ที่งาน Mission Control ยังมีการนำเสนอตัวอย่างผลลัพธ์ช่วงแรกจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง 8 สัปดาห์ผ่านโมบายล์แอพ “The Human Face of Big Data” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรีจนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน ก่อนที่จะมีการเปิดตัวหนังสือ The Human Face of Big Data และแอพฟรีสำหรับ iPad  โปรแกรมดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้คนจากทั่วโลกสามารถแชร์เรื่องราวและเปรียบเทียบชีวิตของตนเองโดยใช้เซ็นเซอร์ในโทรศัพท์ แต่ไม่มีการเปิดเผยชื่อ นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องตอบคำถามที่กระตุ้นความคิดในเรื่องที่เกี่ยวกับความฝัน ความสนใจ และความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัว การนอนหลับ ความเชื่อมั่น เซ็กซ์ และโชคลาภ  โปรแกรมเวอร์ชั่น Android เปิดให้ใช้งานได้แล้ว ส่วนเวอร์ชั่น iOS จะเปิดตัวในไม่ช้า

 

เมื่อสิ้นสุดโครงการในวันที่ 20 พฤศจิกายน ข้อมูลที่ไม่เปิดเผยชื่อนี้จะถูกนำออกเผยแพร่แก่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป โดยจะแสดงให้เห็นถึงชีวิตของคนทั่วโลกในช่วงระยะเวลา 2 เดือน

 

วิดีโอฉบับสมบูรณ์จากแต่ละงานที่จัดขึ้นที่นิวยอร์ก ลอนดอน และสิงคโปร์ รวมถึงวิดีโอจากผู้บรรยายแต่ละคน จะเปิดในรับชมที่เว็บไซต์ HumanFaceOfBigData.com ในไม่ช้า

 

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นๆ ของ The Human Face of Big Data รวมถึงหนังสือ, แอพฟรีสำหรับ iPad และโครงการของนักศึกษาที่มีชื่อว่า Data Detectives โปรดดูที่เว็บไซต์

 

โครงการ The Human Face of Big Data ดำเนินการโดยกลุ่มบรรณาธิการที่เป็นอิสระ และเกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจาก อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลัก  นอกจากนี้ยังมีผู้สนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่ ซิสโก้, เฟดเอ็กซ์, วีเอ็มแวร์, ทาโบล และออริจิเนต และจัดหาการแสดงผลโดย เมต้าเลเยอร์

 

เกี่ยวกับ The Human Face of Big Data

The Human Face of Big Data ดำเนินการโดย Against All Odds Productions เป็นโครงการสื่อที่ระดมทรัพยากรจากทั่วโลก โดยมุ่งเน้นความสามารถใหม่ในการรวบรวม วิเคราะห์ เชื่อมโยง และแสดงผลข้อมูลจำนวนมหาศาลในแบบเรียลไทม์  Against All Odds ซึ่งนิตยสารฟอร์จูน ระบุว่าเป็น “หนึ่งใน 25 บริษัทที่ยอดเยี่ยมที่สุดในอเมริกา” มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบและดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่มีการระดมทรัพยากรจากทั่วโลก โดยผสานรวมการบอกเล่าเรื่องราวเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย  โครงการของบริษัทฯ ขึ้นปกนิตยสารชั้นนำมากมาย เช่น Fortune, Time, Newsweek และ US News & World Report

 

ความเป็นส่วนตัวและแอพ The Human Face of Big Data

แอพ The Human Face of Big Data ได้รับการพัฒนาโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมผ่านแอพดังกล่าวจะถูกนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์ด้านการศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า และเพื่อนำเสนอแง่มุมที่น่าสนใจเมื่อผู้ใช้แต่ละคนเปรียบเทียบคำตอบของตนเองกับคนอื่นๆ ทั่วโลก  ข้อมูลแบ่งเป็นสองประเภท คือ (1) ข้อมูลที่ผู้ใช้จัดหาให้โดยสมัครใจ เช่น ภาพถ่าย และ (2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยอัตโนมัติจากผู้ใช้ขณะที่ใช้แอพ  เราไม่ได้สอบถามชื่อของผู้ใช้ อีเมลแอดเดรส หรือข้อมูลอื่นๆ สำหรับการติดต่อ และผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสร้างชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่าน เราสอบถามอายุและเพศ และขอให้ผู้ใช้ยืนยันเมืองที่อุปกรณ์พกพารายงานเมื่อผู้ใช้ใช้งานแอพเป็นครั้งแรก เราวิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ใช้จัดหาให้เกี่ยวกับอายุ เพศ และตำแหน่งที่ตั้ง และคำตอบสำหรับคำถาม และเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากผู้อื่น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทัศนะและความมุ่งหวังของผู้ใช้แอพทั่วโลก นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถใช้แอพได้โดยไม่ให้ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคล และสามารถเลือกที่จะไม่อัพโหลดภาพถ่าย และไม่ใส่ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลไว้ในคำตอบเกี่ยวกับกิจกรรมของผู้ใช้ นโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับสมบูรณ์สำหรับแอพดังกล่าวมีอยู่ที่นี่

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ HumanFaceOfBigData.com และติดตามโครงการบน ทวิตเตอร์ และ เฟซบุ๊ค