บลจ.ธนชาต สุดเจ๋ง โชว์ผลงานกองทุนหุ้น 1 ปีสูงสุด 16.7% สวนกระแสตลาดหุ้นผันผวน

0
192
image_pdfimage_printPrint

บลจ.ธนชาต ทำผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลังสูงสุดในกลุ่มกองทุนหุ้นทั่วไป 2 กองทุนคือ กองทุน  T-LowBeta และ T-LowBetaRMF โดยสามารถทำกำไรได้ถึง 16.7% แม้ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยจะมีความ ผันผวนสูงก็ตาม พร้อมกับเสนอทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ยังสนใจลงทุนในตราสารหนี้ 6 เดือน – 1 ปี  ชูผลตอบแทนสูงสุดประมาณ 3.10% ต่อปี

 

นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดธนชาต Low Beta (T-LowBeta) และกองทุนเปิดธนชาต Low Beta เพื่อการเลี้ยงชีพ         (T-LowBetaRMF)เป็นกองทุนหุ้นคู่แฝดที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่มีความเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ค่อนข้างต่ำ หรือพูดง่ายๆ ว่ากองทุนนี้จะมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ
“สำหรับกลยุทธ์ในการลงทุน กองทุน T-LowBeta เราเน้นเลือกหุ้นของกิจการชั้นดี มีฐานะการเงินมั่นคง มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ทำให้กองทุนมีโอกาสรับรายได้ที่ชัดเจน มูลค่าเงินลงทุนมีความผันผวนน้อย มีกระแสเงินสดจากการประกอบการที่แน่นอน เช่น ได้รับสัญญาสัมปทานระยะยาว หรือเป็นหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ และเป็นกิจการที่มีแนวโน้มเติบโต โดยในปีนี้ ทั้ง 2 กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี สูงสุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ในกลุ่มกองทุนหุ้นทั่วไป โดยมีผลตอบแทนอยู่ที่ 16.7% ทั้ง 2 กองทุน (ข้อมูลมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 25 มิ.ย. 2557) ทั้งๆ ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) อยู่ที่ 6.06% นอกจากนั้น ยังพบว่าในกลุ่มกองทุนหุ้นทั่วไปนั้นมีผลการดำเนินงานต่ำสุดผลตอบแทนอยู่ที่ -6.16% ซึ่งติดลบ”

 

นายบุญชัย กล่าวต่อไปว่า กองทุนหุ้นในลักษณะผันผวนต่ำนั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากเริ่มต้นลงทุนในหุ้นแต่ยังรู้สึกไม่กล้าพอ เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถรับการเคลื่อนไหวของราคาแบบปกติได้ ซึ่งที่ผ่านมา เรามักแนะนำให้นักลงทุนที่ปกติมักลงทุนในตราสารหนี้ แบ่งเงินมาลงทุนในกองทุนลักษณะนี้ เพื่อหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว

 

นอกจากนั้น สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่พร้อมจะลงทุนในหุ้น และยังอยากลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวประมาณ 1 ปี ทาง บลจ.ธนชาต ขอเสนอ กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 1Y14 ผลตอบแทนประมาณ 3.10% เริ่มเสนอขาย 2 – 8 กรกฎาคม 2557 โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนเงินฝากธนาคารในจีน สัดส่วน 22.00% เงินฝากธนาคารในอินโดนิเซีย สัดส่วน 22.00% ตราสารหนี้ที่ออกโดย Agricultural Bank of China สัดส่วน 22.00% ตราสารหนี้ที่ออกโดย Industrial and Commercial Bank of China (Asia) สัดส่วน 20.00% ตราสารหนี้ที่ออกโดย Banco BTG Pactual สัดส่วน 14.00% โดยประมาณค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 0.0800%

 

ในช่วงเดียวกัน บลจ.ธนชาต ขอเพิ่มทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนใดกองทุนตราสารหนี้    ระยะสั้น 6 เดือน ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ กองทุนเปิดธนชาต Fixed Income 6M67 (TFI6M67) อายุ 6 เดือน ให้ผลตอบแทนประมาณ 2.60% เริ่มเสนอขาย 2 – 8 กรกฎาคม 2557 โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนเงินฝากธนาคารในจีน สัดส่วน 22.00% เงินฝากธนาคารในอินโดนิเซีย สัดส่วน 22.00% ตราสารหนี้ที่ออกโดย ธ.ทิสโก้ สัดส่วน 20.00% หุ้นกู้ระยะสั้นของ บจ.โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) /     บจ. ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) สัดส่วน 16.00% ตั๋วแลกเงินของ บมจ.อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส สัดส่วน 20.00% โดยประมาณค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 0.2000%

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมขอรับหนังสือชี้ชวนได้ในวันและเวลาทำการเสนอขายที่ บลจ.ธนชาต โทรศัพท์ 0-2126-8399 กด 0 หรือธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1770 หรือผู้สนับสนุนการขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ บลจ.ธนชาต แต่งตั้ง www.thanachartfund.com

 

คำเตือน

  • การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • กองทุน TFI6M67 และกองทุน T-FixFIF1Y14 จะป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนสำหรับมูลค่าตราสารหนี้ ต่างประเทศที่กองทุนลงทุน ดังนั้น จึงอาจมีความเสี่ยงที่คู่สัญญาธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันหรือสัญญาดังกล่าวได้
  • กองทุน TFI6M67 และกองทุน T-FixFIF1Y14 อาจ/จะมีการกระจุกตัวของการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของ บลจ. www.thanachartfund.com
  • หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้
  • การลงทุนที่แท้จริงอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้เพื่อความเหมาะสมกับสภาพตลาดตราสารหนี้ และอัตราดอกเบี้ยของตราสารต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายของกองทุน