ดั๊บเบิ้ลเอร่วมประชุมปธน.ฝรั่งเศส ระดมกลยุทธ์”ปฏิรูปการลงทุน”

0
635
image_pdfimage_printPrint

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ “โยธิน ดำเนินชาญวนิชย์”  ประชุมร่วมกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส “ฟรองซัว ออลลอง” พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงจาก 24 องค์กรชั้นนำของโลก  เพื่อร่วมกำหนดกลยุทธ์การปฏิรูปการลงทุน ทั้งด้านแรงงาน และนวัตกรรม โดยดั๊บเบิ้ล เอ เป็น 1 ใน 4 บริษัทจากเอเชียที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม ณ พระราชวังเอลิเซ่  

 

เมื่อเร็วๆนี้ นายโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)   ในฐานะผู้ประกอบการในฝรั่งเศส  ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกลยุทธ์เพื่อดึงดูดการลงทุน(Strategic Attractiveness Council:SAC) ตามคำเชิญของรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกับ         ผู้นำรัฐบาล  นำโดยประธานาธิบดีฟรองซัว ออลลอง(Francois Hollande) นายกรัฐมนตรีมานูแอล วาลส์ (Manuel Valls) รัฐมนตรีกระทรวงด้านเศรษฐกิจ  และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท รวม  25  แห่งทั่วโลก

ณ  พระราชวัง   เอลิเซ่  เพื่อร่วมกันระดมความคิดริเริ่มในการปฏิรูปการลงทุน และรับทราบความคืบหน้า       ในการดำเนินมาตรการเพื่อการปฏิรูปการลงทุนของรัฐบาลฝรั่งเศส

 

มปธน

นายโยธิน เปิดเผยว่า ดั๊บเบิ้ล เอ เป็น 1 ใน 4 บริษัทในเอเชียที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม ส่วนอีก        3 บริษัทได้แก่ ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์(Samsung Electronics) เกาหลีใต้  ราคุเทน (Rakuten) ญี่ปุ่น และ     เดอะ แอสคอทท์  (The Ascott)  สิงคโปร์ ส่วนบริษัทชั้นนำจากส่วนต่างๆของโลกอาทิ อินเทล คอปอเรชั่น (Intel Corporation)  สหรัฐฯ และเนสท์เล่ (Nestle) สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น  โดย 25 บริษัทจาก 16 ประเทศ   ใน 5 ทวีป ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมครั้งนี้ มีมูลค่าการลงทุนรวมกันทั่วโลกถึง 6 แสนล้านยูโร       และก่อให้เกิดการจ้างงานเฉพาะในฝรั่งเศสแล้ว 8 หมื่นตำแหน่ง

รัฐมนตรีที่ร่วมประชุมในครั้งนี้ได้มีโอกาสหารือเชิงลึกกับผู้บริหารจากประเทศต่างๆ ในประเด็นการปฎิรูปการลงทุนที่ได้มีการปรับใช้ในปัจจุบัน ตลอดจนมาตรการต่างๆ ที่มุ่งหวังสร้างสรรค์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชนผู้จ้างงานในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสามารถด้านการแข่งขัน และการจ้างงาน ตลอดจนพระราชบัญญัติการจ้างงานปี 2013 และข้อบังคับด้านกฎหมายอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปฎิรูปการลงทุนในฝรั่งเศสเพื่อความยั่งยืนของการจ้างงานและเศรษฐกิจ อีกทั้งประธานาธิบดี ฟรองซัว ออลลอง ยังได้สรุปภาพรวมการลงทุนในฝรั่งเศส ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2014  ฝรั่งเศส มีการลงทุน

จากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 14%  เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2013 ครองอันดับสองในยุโรปที่มีการลงทุนจากต่างชาติสูงสุด ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากโครงการปฎิรูปการลงทุนของฝรั่งเศสและยังทำให้อันดับความสามารถด้านการแข่งขันของฝรั่งเศสปรับตัวดีขึ้น เช่น ศักยภาพด้านตลาดแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น 10 อันดับ และการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่าย ปรับเพิ่มขึ้น 4 อันดับ เป็นต้น จากการจัดอันดับของ World Economic Forum ประจำปี 2014

“ในการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจากหลายๆ ประเทศที่เข้าร่วมได้นำเสนอ สิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดใจนักลงทุนใหม่ๆ หลากหลายมุมมอง  ดั๊บเบิ้ล เอ ในฐานะผู้ประกอบการรายหนึ่ง      จึงได้นำเสนอมุมมองข้อได้เปรียบของการลงทุนในฝรั่งเศส คือ การเป็นจุดยุทธศาสตร์การเข้าสู่กลุ่มประเทศยุโรป ผ่านเครือข่ายทางรถไฟ,ถนน และท่าเรือ  มีความได้เปรียบด้านต้นทุนพลังงานจากนิวเคลียร์  ที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และดั๊บเบิ้ลเอ สามารถพัฒนาให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลผลิตกระแสไฟฟ้าจาก ของเหลือจากการผลิตเยื่อกระดาษ  การมีแรงงานที่มีคุณภาพ   ประการสำคัญคือการปฏิรูปการลงทุน        ของฝรั่งเศสได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง และรวดเร็วมาก” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ กล่าว

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ดำเนินความพยายามอย่างจริงจังในการปฏิรูปการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุน      จากต่างประเทศให้เพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะปฏิรูปแรงงานและสร้างแรงกระตุ้นในการส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันผ่านการส่งเสริมนวัตกรรม ซึ่งสามารถเป็นโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพที่บริษัทต่างๆทั่วโลกสามารถ  ใช้เป็นฐานในการผลิต หรือการตลาดดังเช่น กรณี บริษัท ดั๊บเบิ้ลเอ (1991) จำกัด(มหาชน)  เข้าลงทุนในโรงกระดาษ

 

 

อลิเซ่ ในแคว้นนอร์มังดี ฝรั่งเศส เพื่อผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ดั๊บเบิ้ล เอ ตอบสนองทั้งตลาดภายในประเทศฝรั่งเศสที่มีประชากร 65 ล้านคน และเชื่อมโยงไปยังตลาดในสหภาพยุโรปที่มีประชากร 500 ล้านคน

“  ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปการลงทุนของฝรั่งเศส จากมาตรการปฎิรูปตลาดแรงงานอย่างเป็นรูปธรรม  อาทิ การเพิ่มเครดิตภาษีการจ้างงาน ,การลดการหักภาษีจากเงินประกันสังคมของบริษัทตั้งแต่ ปี 2015 และยกเลิกการหักภาษีในปี 2017 และการลดการเก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้า เริ่มต้น ปี 2016 จาก 33% เหลือ 28% ในปี 2020 เป็นต้น” นายโยธิน กล่าว

การปฏิรูปการลงทุนของฝรั่งเศส ยังเน้นการสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมหลัก 7 ประการที่เป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาฝรั่งเศลในอนาคต  ได้แก่ การเก็บสำรองพลังงาน, การรีไซเคิลโลหะ, การใช้แหล่งทรัพยากรใต้น้ำที่มีประสิทธิภาพ, สารเคมีและโปรตีนจากผัก, เภสัชกรรมแบบรายบุคคล, การเรียกใช้ข้อมูล และ Silver Economy ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยประชากรที่มีอายุมาก ส่วนใหญ่เป็นคนวัยใกล้เกษียณ หรือเกษียณแล้ว

ในการประชุม SAC ครั้งล่าสุดที่ดั๊บเบิ้ลเอ  เข้าร่วมประกอบด้วยการประชุมโต๊ะกลม 3 ประเด็นหลัก  คือ นโยบายเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในฝรั่งเศส(Economy Policies to Foster Innovation in France),การปฏิรูปตลาดแรงงานในฝรั่งเศส(Labor Market Reform in France) และการกระตุ้นการลงทุนและการท่องเที่ยวในฝรั่งเศส(Spotlight on France)

จุดเด่นของประเทศฝรั่งเศสคือ ตั้งอยู่ใจกลางของทวีปยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นตลาดผู้บริโภค (consumer market) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าภายในทวีปยุโรปแล้ว ฝรั่งเศสยังเป็นจุดเชื่อมโยงการค้าไปยังทวีปแอฟริกาเหนือและบางประเทศในตะวันออกกลางอีกด้วย  นอกจากนั้น ฝรั่งเศส ยังเป็นแหล่งองค์ความรู้ที่ส่งเสริมขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยในด้านพลังงานทดแทน เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความร่วมมือด้านระบบการบริหารจัดการการอาชีวศึกษา (โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม) การพัฒนาการขนส่งระบบรางและรถไฟความเร็วสูง เป็นประเทศผู้มีอำนาจการผลิตสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในด้านการผลิตสินค้าหรูหรา ด้านธุรกิจค้าปลีก และการเกษตร

ในปี 2013 IMF ได้จัดลำดับเศรษฐกิจฝรั่งเศสว่า มีขนาดใหญ่เป็นลำดับ 2 ของยุโรป และใหญ่เป็นลำดับ 5 ของโลก ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักลงทุนต่างชาติ เข้าไปลงทุนจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ของยุโรป และเป็นอันดับ 2 ของโลกอีกด้วย ถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อความเติบโตของเศรษฐกิจโลกประเทศหนึ่ง