งานแสดงเครื่องแต่งกายขนแกะ Merino เปิดฉาก ณ ชุดห้องทำงาน Cabinet War Room ประเทศอังกฤษ

0
214
image_pdfimage_printPrint

ลอนดอน–8 ม.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

 

ขณะที่งานแฟชั่นเครื่องแต่งกายบุรุษ London Collections: Men วันที่ 2 ใกล้จะสิ้นสุดลงนั้น บรรดาห้อง Cabinet War Room, SW1A ซึ่งอยู่ใต้อาคารสำนักงานรัฐบาลอังกฤษก็กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ณ เวลา 18.00 น. ด้วยงานจัดแสดงภาพเสื้อผ้าขนสัตว์ และสไตล์การแต่งกายในช่วงทศวรรษ 1940 โดยมีการจัดแสดงภาพวาดในห้องต่างๆซึ่งแทบจะไม่ได้มีการใช้งานของเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นางคลีเมนไทน์ ภริยาของท่าน ตลอดจนบรรดาเจ้าหน้าที่ และผู้บังคับบัญชาการ นอกเหนือไปจากห้อง Map ซึ่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานด้านการวางแผน และพลาธิการทางทหาร

 

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140107/662937-a)

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140107/662937-b)

 

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140107/662937-c)

 

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140107/662937-d)

 

เสื้อผ้าจำนวนกว่า 80 ชุดซึ่งเหล่านางแบบ นักแสดง และเพื่อนๆของ Savile Row สวมใส่จะช่วยเพิ่มสีสันให้กับสถานที่พร้อมด้วยเครื่องตกแต่งไหมขนแกะ Merino สั่งทำพิเศษ ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นล้วนแสดงถึงแก่นแท้ หรือช่วงเวลาสำคัญของชีวิตสุภาพบุรุษอังกฤษ ณ ห้องเหล่านี้ โดย Woolmark Company ได้กลับมาร่วมมือกับซาวิล โรว์ และโจ เลวิน ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แฟชั่นของนิตยสาร British GQ อีกครั้ง เพื่อนำเสนอแฟชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ซึ่งเป็นเรื่องราวของการห่อหุ้มด้วยไหมจากขนแกะ Merino ผู้รับผิดชอบดำเนินงานดังกล่าวคือแอนด้า โรว์แลนด์ จาก Anderson & Sheppard และแซมมี่ อากี้

 

ร็อบ แลงทรีย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดของ Australian Wool Innovation และ The Woolmark Company กล่าวว่า “โปสเตอร์หลายชุดที่จัดทำขึ้นถือเป็นสิ่งเตือนใจถึงความสำคัญของขนสัตว์ในยุคสมัยหนึ่ง โดยเฉพาะในทศวรรษ 1940 ซึ่งเป็นช่วงที่เรายังไม่มีเครื่องทำความร้อน และไฟฟ้าใช้มากเท่าไรนัก- และสอดคล้องกับความจริงในปัจจุบันที่ย้ำเตือนเราว่า เมื่ออุณหภูมิลดลง เราสามารถเลือกใส่เสื้อผ้าขนแกะ และเลิกใช้เครื่องทำความร้อนในช่วงฤดูหนาว งานนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์รอบด้านของขนแกะ Merino สีสันที่หลากหลาย สัมผัสนุ่มละเอียด และการนำไปใช้สร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย”

 

งานแสดงเครื่องแต่งกายบุรุษจัดขึ้น เพื่อเน้นถึงจุดเด่นของด้าย เส้นใย และเสื้อผ้าจากขนแกะ Merino ที่ผลิตโดยแบรนด์ และช่างตัดเย็บเสื้อผ้าชื่อดังของโลกที่แสดงให้เห็นถึงผลงานอันประณีตพร้อมรายละเอียดสุดหรู ความร่วมมือดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียกร้องให้ตระหนักถึงคุณสมบัติธรรมชาติ และความยืดหยุ่นของขนสัตว์ในสภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าหลากหลายประเภท ผ้าไหมขนแกะ Merino สามารถระบายอากาศได้ตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายของผู้สวมใส่ให้อบอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อน โดยปกติแล้ว ขนสัตว์จะดูดซับความชื้น ขจัดกลิ่นตัว ป้องกันไฟฟ้าสถิต และป้องกันรังสี UV จากแสงแดด นอกจากนี้ยังไม่ติดไฟ ปลอดภัยต่อผู้สวมใส่ นอกจากนี้ ลอนเส้นใยของ Merino Wool ทำให้เส้นไหมมีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติ ช่วยให้เสื้อผ้ายับยาก คงรูป และทนทาน เนื่องจากใช้เส้นใยที่ได้มีการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตนั้นมีความยาวมากขึ้น เพื่อรับประกันคุณภาพของเสื้อผ้า

 

ภายในงานยังได้มีการจัดแสดงผลงานเครื่องแต่งกายสุดพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบแทนแบรนด์เสื้อผ้า และผู้จัดจำหน่ายจากสหราชอาณาจักรที่ได้อุทิศตัวร่วมกับ The Woolmark Company ในการสนับสนุนเส้นใยขนแกะ Merino ความยาวกว่า 200 เมตรในการจัดงาน ดังนี้

– สูทผ้าสักหลาดสีเทา

– สูทสีเขียวลายแบบ Donegals, Herringbones และ Country Tweeds

– กางเกงเอี๊ยมขายาว

– ผ้าสักหลาดริ้วทำจากขนแกะผสมเส้นใย

– ผ้าคลุมแบบดั้งเดิมเนื้อเรียบ แบบ brushed finishes และ Herringbones

– เสื้อคลุมเนื้อนุ่มจากขนแกะ Merino

 

งานแสดงจัดขึ้น ณ ชุดห้องทำงาน Cabinet War Room: 18.00-20.00 น. วันอังคารที่ 7 ม.ค. เฉพาะผู้ที่ได้รับบัตรเชิญเท่านั้น

 

เกี่ยวกับ The Woolmark Company

 

The Woolmark เป็นแบรนด์เส้นใยสิ่งทอที่โด่งดังที่สุดของโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดย Australian Wool Innovation (AWI) ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่แสวงหาผลกำไรของผู้เลี้ยงแกะมากกว่า 25,000 ราย AWI ดำเนินงานภายใต้ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกนับตั้งแต่กลุ่มผู้เลี้ยงแกะไปจนถึงกลุ่มค้าปลีก

 

ขนแกะเป็นเส้นใยธรรมชาติ 100% และสามารถนำมาผลิตใหม่ได้ แกะดำรงชีวิตด้วยการกินหญ้า และน้ำ รวมถึงต้องการแสงแดด และอากาศบริสุทธิ์ ขนแกะเป็นเส้นใยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยในทุกๆปี แกะจะผลิตขนชุดใหม่ และเป็นแหล่งผลิตเส้นใยที่ไม่มีวันหมดไป

 

แหล่งข่าว: The Woolmark Company