1

สถานการณ์แรงงานในประเทศไทย สู่การนับถอยหลังก้าวสู่ยุค AEC วิเคราะห์จุดแข็ง มองหาจุดต่างในวิชาชีพ สายงานบัญชี / การเงินในปัจจุบันและในอนาคต

โดย  แมนพาวเวอร์กรุ๊ป

 

 

Accounting & Finance ปรับตัวอย่างไรให้ทันยุค AEC

 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คืออะไร?? ปัจจุบัน ทำไมจะต้องทำให้ทุกคน ทุกองค์กรต้องมีการตื่นตัว มีความเข้าใจ ทุกสายงานต้องทำการเตรียมพร้อม บุคลากรยุคใหม่ต้องปรับแนวคิด ทัศนคติให้ทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงบุคลากรทุกระดับในยุคเปลี่ยนผ่านที่พร้อมก้าวสู่ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจ เตรียมรับมืออย่างไรในสถานการณ์ที่เราต้องทำเปิดการค้าเสรีในอาเซียน หรือ ยุคเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังคืบคลานมาอย่างรวดเร็ว

 

หลายหน่วยงาน หลายสาขาอาชีพได้ทำการเดินหน้า เตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่เรียกติดปากว่า “เออีซี” ไปทั่วทุกพื้นที่ในปัจจุบัน และมีอีกหนึ่งสายงานที่วันนี้ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจ จากจุดแข็ง ไปถึงจุดอ่อนที่เกิดปัญหาในปัจจุบัน คือ สายงานบัญชี และการเงิน (Accounting & Finance) ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นตลาดใหญ่ในประเทศที่มีจำนวน บัณฑิตที่จบมาในแต่ละปีในปริมาณที่มาก แต่ก็เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานที่ผ่านมาตามไปด้วยเช่นกัน ทั้งในระดับองค์กรใหญ่ องค์กรระดับกลาง องค์กรภาครัฐ กลุ่ม SMEs หรือแม้กระทั้ง ธุรกิจในครอบครัว หน้าร้านก็ต้องการแรงงานในสายงานบัญชีและการเงิน โดยมองสถานการณ์แรงงานตลาดแรงงานในกลุ่มดังกล่าวจะเห็นถึงสัดส่วนขององค์กรในประเทศ คือ กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 30 กลุ่มองค์กรขนาดกลางอยู่ที่ร้อยละ 50 กลุ่มองค์กร SMEs อยู่ที่ร้อยละ 25 และกลุ่มครัวเรือน หรือขาย-ส่งอยู่ที่ร้อยละ 5 ที่ต้องการแรงงานบัญชีและการเงินในภาพรวมของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ในสายงานนี้ โอกาสในการตกงานน้อยมาก และไม่ค่อยได้รับผลกระทบในเรื่องฐานเงินเดือน ซึ่งในสายนี้มีการเริ่มต้นของเงินเดือนที่ไม่น้อยกว่า 15,000 บาทอยู่แล้ว

 

โดยที่ผ่านมาจากประสบการณ์ และการเก็บข้อมูลในสายบัญชีและการเงิน สามารถแบ่งได้เป็นระดับในการทำงาน คือ ระดับเริ่มต้นในการปฏิบัติงานในตลาดจะมีอยู่ที่ปริมาณร้อยละ 50 ในตลาดรวม จะมีฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาทเป็นต้นไป กลุ่มสายงานบริหารจะมีปริมาณร้อยละ 30 ในตลาดรวม จะมีฐานเงินเดือนที่ 25,000 บาทเป็นต้นไป กลุ่มสายงานระดับผู้บริหารระดับสูงจะมีปริมาณร้อยละ 10 ในตลาดรวม มีฐานเงินเดือนที่ 50,000 บาทเป็นต้นไป และกลุ่มระดับ CEO เป็นต้นไปจะมีอยู่ที่ร้อยละ 10 ในตลาดรวม จะมีฐานเงินเดือนที่ 1.5 – 3.5 แสนบาท (อันเป็นกลุ่มที่มีข้อกฎหมายห้ามในเรื่องคนต่างชาติมาปฏิบัติงาน แต่ก็มีช่องว่างในทางกฎหมายอยู่ในปัจจุบัน) และประการสำคัญในสายงานประเภทดังกล่าวที่มักพบคือ จะมีการจองตัวในระดับหัวกะทิ และมักเลือกจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ 1 ใน 3 ของประเทศเป็นหลักก่อน และส่วนมากหากระดับปฏิบัติการจะขึ้นสู่ระดับบริหารที่ไม่ได้มาจากสถาบันชั้นนำ ก็ต้องไปศึกษาต่อปริญญาโทจากสถาบันชั้นนำ 1 ใน 3 ของประเทศถึงจะสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งได้ นั้นหมายถึงหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ค่านิยมในเรื่องของสถาบันการศึกษาในสายงานดังกล่าว จะมีคู่แข่งจาก ประเทศสิงคโปร์ มาเลเชีย และฟิลิปปินส์ ตามมาอย่างแน่นอน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติที่ได้มาตรฐานการยอมรับจากทั่วโลกเช่นเดียวกัน

 

หากแต่แรงงานในประเทศด้านบัญชีและการเงินจะเกิดปัญหา แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง คือ ถ้าเราสามารถปรับทัศนคติ และขีดความสามารถด้านบุคลากรในประเทศ หากมีการเปิดประชมคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ขึ้น บุคลากรในประเทศของเราก็ยังถือว่าเป็นที่ต้องการในระดับนานาชาติอีกด้วย หากที่ผ่านมาที่ได้รับเสียงสะท้อนกลับมาจากผู้บริหารระดับ มร.ไซมอน แมททิวส์, ผู้จัดการประจำประเทศไทยและแถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ที่ได้เดินทางไปพบผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ คือ บุคลากรไทยในสายงานบัญชีและการเงิน ที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอยากได้ คือ (1) อยากให้เพิ่มทักษะในเรื่องของเทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการใช้ฐานข้อมูลของเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบันให้ดีขึ้น (2) การใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับคนไทยค่อนข้างสูง (3) การปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ความรู้รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอกทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการ เป็นต้น อีกทั้งมุมมองในอนาคต มร.ไซมอน ได้มองไปอีกว่า เทรนด์ความต้องการที่จะเติบโตในระดับอาเซียน ที่จะต้องการสายงานบัญชีและการเงินเข้าไปมีส่วนขับเคลื่อนองค์กรในอนาคตจะเป็น ประเภทสินค้าอุปโภค-บริโภค กลุ่มสายงานพลังงาน กลุ่มสายงานเทคโนโลยีและเอ็นจิเนียริ่ง ตามลำดับ

 

วันนี้แรงกระเพื่อมทางด้านแรงงานกลุ่มสายงานบัญชีและการเงิน กำลังแตะเข้ามาทีละน้อย อยู่ที่วันนี้ใครจะไหวตัวก่อนเท่านั้น การปรับตัว รู้เท่าทัน AEC ไม่ได้อยู่ที่ประเทศ อยู่ที่องค์กร หรืออยู่ที่สถาบันการศึกษา แต่เราทุกคนต้องรู้เท่าทัน AEC มองถึงโอกาส การปรับตัว และอนาคตในการก้าวหน้าในสายงาน สายอาชีพของตัวเอง ซึ่งมองว่าในระยะ 2 ปีที่จะเข้า AEC ในปี 2558 จะเป็นการปรับตัวของทุกฝ่าย และหลังจากเปิด AEC แล้ว สายงานในด้านดังกล่าวจะยังอยู่ในช่วงวางระบบ หรือ Set Up อีกครั้งในช่วง 3 – 5 ปีนี้ คาดว่าแรงงานในกลุ่มนี้จะเป็นที่ต้องการและเติบโตอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จากปัจจุบัน หากแต่วันนี้เราต้องทำการเตรียมความพร้อม ศึกษาข้อเท็จจริง ความรู้ ระบบการทำงาน หรือแม้กระทั่งข้อกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นประโยชน์สำคัญทั้งสิ้นในสายงานประเภทบัญชีและการเงิน ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ศักยภาพในการทำงานให้เป็นที่ต้องการในตลาดหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คงไม่ใช่แค่เพียงเรื่องฉาบฉวยอีกต่อไป แต่จะทำอย่างไรให้มีการตื่นตัว องค์ความรู้ที่แท้จริงขึ้นอยู่กับใครในบ้านเราต้องลองคิดดู!!!