1

ซีเอ เทคโนโลยี ชี้ธุรกิจจะเติบโต ผู้นำองค์กรต้องเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลสำรวจระบุ 77 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารฝ่ายไอที เชื่อว่าผู้บริหารมองฝ่ายไอทีมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์

ผลวิจัยใหม่ชี้ผู้นำธุรกิจจะต้องปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมีรายงาน ‘อนาคตซีไอโอ กับความรู้ความเข้าใจโลกดิจิตอล’ จากซีเอ เทคโนโลยี ระบุว่าซีไอโอไทย 90 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าการขาดความใส่ใจด้านไอทีในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของบริษัทในอนาคต

ในรายงานล่าสุดระบุ ซีไอโอชาวไทยเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รู้สึกว่าฝ่ายบริหารของตนเข้าใจศักยภาพและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยตัวเลขนี้เป็นสัดส่วนเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียอื่นๆที่ซีไอโอถึง 20 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าผู้บริหารของตนเข้าใจศักยภาพและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมีการสำรวจชาติในเอเชียแปซิฟิกรวม 9 ชาติ คือ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงค์โปร์ ไต้หวันและประเทศไทย

 

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจก็ได้แสดงให้เห็นเช่นกันว่า ถึงแม้ผู้นำธุรกิจจะขาดความรู้ความเข้าใจในโลกดิจิตอล แต่ส่วนใหญ่แล้วก็เข้าใจดีถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อบริษัท โดยราว 77 เปอร์เซ็นต์ของ ซีไอโอไทยในผลการสำรวจนี้ รู้สึกว่าทีมบริหารของตนมองว่าไอทีมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์

 

ที่สำคัญ บรรดาซีไอโอไทย ต่างกังวลว่าการขาดความเข้าใจในโลกดิจิตอลในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงจะก่อเหตุให้เกิดการขาดการตอบสนองต่อตลาด พลาดโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน แข่งขันได้ต่ำ และทำให้โปรดักต์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้ช้าลง  ยิ่งไปกว่านั้น มีมากกว่าหนึ่งในสี่  (27 เปอร์เซ็นต์) ของซีไอโอไทยที่ให้สัมภาษณ์เชื่อว่าผู้บริหารระดับสูงยังไม่เข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

“ผู้นำธุรกิจในเอเชียทุกวันนี้ ต่างยอมรับว่า ไอทีมีบทบาทในการชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน และเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจได้ ดังนั้นผู้บริหารควรเพิ่มบทบาทของ ซีไอโอ ขึ้นมาในแง่ยุทธศาตร์ด้วย ไม่ใช่แค่จับงานดูแลระบบแต่เพียงด้านเดียว” สุเทพ อุ่นเมตตาจิต, ผู้จัดการทั้วไป ซีเอ โซลูชั่น กล่าว

 

รายงานฉบับนี้ยังไฮไลท์ประเด็นสำคัญว่าซีไอโอกว่าครึ่งคิดว่า  ผู้บริหารระดับสูงไม่เข้าใจศักยภาพของไอทีในการขยายธุรกิจ หรือทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยืดหยุ่นและสู้การแข่งขันได้ ผลก็คือ ไม่น่าประหลาดใจที่มีซีไอโอเพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจตัดสินใจที่กำหนดทิศทางของบริษัท ซึ่งทำให้การตัดสินใจในด้านยุทธศาสตร์ไอทีของผู้บริหารระดับสูงได้รับผลกระทบตามไปด้วย

 

มีข้อมูลที่น่าสังเกตุว่า  ซีไอโอในไทยคิดว่าบทบาทซีไอโอของตนไม่ตรงตามที่ทีมผู้บริหารมอง และ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบบอกว่านิยามบทบาทซีไอโอในบริษัทตนไม่ตรงกับไอเดียที่บอร์ดบริหารมี

 

40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบคำถามจากไทยรู้สึกว่า องค์กรของตนยังไม่ได้ใช้ไอทีเพื่อขยายธุรกิจของตนอย่างเต็มที่ และกลุ่มซีไอโอในไทยเหล่านี้กังวลถึงปัญหาการขาดความเข้าใจโลกดิจิตอลในทีมผู้บริหาร โดย 57 เปอร์เซ็นต์ของซีไอโอในไทยรู้สึกว่าตนพลาดโอกาสทางธุรกิจ และขาดการตอบรับ ซึ่งน่าจะเกิดจากความรู้ความเข้าใจโลกดิจิตอลในทีมบริหารยังมีระดับต่ำ

 

ศาสตราจารย์ โจ เพ็พพาร์ด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้อมูลข่าวสาร  สำนักศูนย์ศึกษาวิชาบริหารแครนฟิลด์ เชื่อว่าผู้บริหารระดับสูงจะต้องหันมายอมรับบทบาทของไอทีว่าไม่ใช่มาจากเทคโนโลยี แต่มาจากขีดความสามารถในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารต่างหาก

 

“หลายบริษัทจะไม่สามารถอยู่รอดได้ถ้าขาดระบบไอที” เพ็พพาร์ดกล่าว พร้อมเสริมว่า “ซีไอโอ กำลังเปลี่ยนบทบาทไปเป็นตัวแทนโบรคเกอร์ของงานเซอร์วิสด้านไอที และจะยังประสานบทบาทการตัดสินใจในระดับโครงสร้างของบริษัท นวัตกรรมไอที การปฏิบัติตามกฏระเบียบและนโยบายภาครัฐ และจะมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับผู้จัดการในแต่ละสายธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าจากยุทธศาสตร์ไอที”

 

เพ็พพาร์ด เชื่อว่าด้วยการทำวิธีนี้ บทบาททั้งองค์กรไอทีและ ซีไอโอจะพัฒนาต่อไปและสามารถนำประเด็นและการเรียนรู้ต่อไปเพื่อพลักดันธุรกิจผ่านนวัตกรรมไอที

 

“ซีไอโอ อยู่ในสถานะที่ดีที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการหารือระดับตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ และในจุดนี้เองที่จะมีโอกาสที่ดีที่จะได้มีโอกาสแสดงให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ไอทีไหน หรือโปรเจ็กต์อะไร จะสร้างประโยชน์ และได้รับการยอมรับให้เดินหน้าต่อไป” เพ็พพาร์ดสรุป

 

“เราทำงานร่วมกับซีไอโอตลอดมา เพื่อให้มั่นใจว่าทางซีไอโอจะมีทูลที่ใช้ประโยชน์ได้จริงและมีประสิทธิภาพต่อตัวธุรกิจ โดยเรามองว่าซีไอโอจะมีบทบาทมากขึ้นและมีส่วนร่วมในฐานะกลุ่มผู้นำธุรกิจ และนำเสนอข้อมูลทางเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยซีไอโอจะมีบทบาทกับธุรกิจมากกว่าที่เคยเป็นมาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีก่อน” สุเทพกล่าวเพิ่มเติม “และบทบาทของของ ซีไอโอ จะมีผลสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อทางทีมบริหารได้ยอมรับบทบาทของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่เสียก่อน”

 

ดาวน์โหลดและอ่านตัวรายงานฉบับเต็มได้ที่ www.ca.com/digitalliteracy

 

เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย

ซีเอ เทคโนโลยีได้มอบหมายให้บริษัท Vanson Bourne  ซึ่งเป็นวิจัยตลาดอิสระที่เชี่ยวชาญด้านตลาดเทคโนโลยีทำรายงานชิ้นนี้ขึ้นมา โดยมีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ซีไอโอ จำนวน 685 ราย ที่ทำงานในบริษัทหรือองค์กรที่มีพนักงาน500  รายหรือมากกว่า ในภาคโทรคมนาคม ค้าปลีก การเงิน และอุตสาหกรรมการผลิต  และมีการสัมภาษร์ ซีไอโอ จำนวน 30  รายจากประเทศดังต่อไปนี้ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน ประเทศกลุ่มเบเนลักซ์ ออสเตรีย/สวิสต์เซอร์แลนด์ อิสราเอล กลุ่มประเทศนอร์ดิก ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยและแคนาดา และมีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมอีก 100 รายในสหรัฐฯ และ 15 รายในโปรตุเกส