เติมเต็มเงินทุน ติดอาวุธความรู้ ติดปีก SMEs จ.ร้อยเอ็ด

0
308
image_pdfimage_printPrint

ฝ่ายมาตรการส่งเสริมสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(DEPA) โดยนายธวัชชัย โคตรวงษ์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( SME Development bank)โดยนายสุเมธ อนุสิทธิ์ศุภการ ผู้อำนวยการอาวุโส ร่วมกับจังหวัดร้อยเอ็ด โดยนายยเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน จัดการเสวนา เปิดตัวแคมเปญสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุน SME จังหวัดร้อยเอ็ด ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0โดยมีผู้ประกอบการในจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง
จากหลักการแผนยุทธศาสตร์ 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ (2)ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และข้อ (4)ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม เป็นที่มาของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล ในอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปีตลอดอายุสัญญา ระยะเวลาชำระคืน 7 ปี และ ไม่ต้องผ่อนชำระใน 3 ปีแรก โดยธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของจังหวัด เช่น ภาคการเกษตร แปรรูปอาหาร ภาคการท่องเที่ยว กลุ่ม START UP และ กลุ่มเทคโนโลยี นวัตกรรม
สินเชื่อ SMEs Transformation Loan วงเงิน 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 3 บาทคงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการSMEs ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อความเข้มแข็ง START UP ที่มีนวัตกรรม และ กลุ่มธุรกิจ S-Curve หรือ SMEs ที่ส่งออกหรือขยายธุรกิจในต่างประเทศ
โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงินกองทุน 2,000 ล้านบาท จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำหรับผู้ประกอบการที่ธุรกิจเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ยังคงดำเนินกิจการหรือพร้อมจะฟื้นฟูกิจการได้ ธุรกิจที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว หรือยังไม่เป็นหนี้ที่ไม่เกิดรายได้แต่การชำระหนี้ไม่สม่ำเสมอเนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง
โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน ประสบปัญหาการชำระหนี้ สามารถขอยื่นกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการได้ไม่เกิน 1 ล้านบาทระยะเวลาผ่อนชำระหนี้คืน 5-7 ปี ไม่มีดอกเบี้ย โครงการสำหรับผู้กู้บุคคลธรรมดามีหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

และผู้กู้นิติบุคคลมีหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ที่มีแผนฟื้นฟูธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างชัดเจน เป็นโครงการที่ลดปัญหาการล้มละลาย การเลิกจ้างงานและผยุงภาพรวมของเศรษฐกิจไว้ได้
ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้ความเข้าใจ จากการบรรยายเกี่ยวกับการเข้าถึงสินเชื่อแบบต่าง ๆ การให้คำแนะนำในการขอยื่นกู้สินเชื่อโครงการดอกเบี้ยพิเศษ Transformation loan และสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐรวมทั้งโครงการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมยื่นกู้ได้ภายในงาน รวมทั้งการแนะนำการใช้โปรแกรมบัญชีและภาษีสำเร็จรูปและกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์

*******************************************
สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณพิมพร ชัยวีระพัฒนา (จี๊ด) ฝ่ายมาตรการส่งเสริม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โทรศัพท์ 08 9109 8885 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ pimporn.ch@sipa.or.th
คุณวรัชญ์ชนันท์ เพชรณรงค์ (แอน) ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โทรศัพท์ 0 2141 7158 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ccd@sipa.or.th